วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552
คีย์ลัด
CTRL+A ไฮไลต์ไฟล์ หรือข้อความทั้งหมด
CTRL+C ก๊อปปี้ไฟล์ หรือข้อความที่เลือกไว้
CTRL+X ตัด (cut) ไฟล์ หรือข้อความที่เลือกไว้
CTRL+V วาง (paste) ไฟล์ หรือข้อความที่ก๊อปปี้ไว้
CTRL+Z ยกเลิกการกระทำที่ผ่านมาล่าสุด
ปุ่ม Windows ถ้าใช้เดี่ยว ๆ จะเป็นการแสดง Start Menu
ปุ่ม Windows + D ย่อหน้าต่างที่เปิดอยู่ทั้งหมด
ปุ่ม Windows + E เปิด windows explorer
ปุ่ม Windows + F เปิด Search for files
ปุ่ม Windows + Ctrl+F เปิด Search for Computer
ปุ่ม Windows + F1 เปิด Help and Support Center
ปุ่ม Windows + R เปิดไดอะล็อคบ็อกซ์ RUN
ปุ่ม Windows + break เปิดไดอะล็อคบ็อกซ์ System Properties
ปุ่ม Windows +shift + M เรียกคืนหน้าต่างที่ถูกย่อลงไปทั้งหมด
ปุ่ม Windows + tab สลับไปยังปุ่มต่าง ๆ บน Taskbar
ปุ่ม Windows + U เปิด Utility Manager
A-Z : เลือกไฟล์ที่มีชื่อขึ้นต้นด้วยอักษรนั้น ในโฟล์เดอร์ที่เปิดอยู่ในขณะนั้น
Alt+Tab : ใช้สำหรับสวิตช์ไปยังหน้าต่างโปรแกรมต่างๆ ที่กำลังรันอยู่ในขณะนั้น
Alt+ Enter : ใช้สลับการทำงานในโหมดเต็มจอ (Full Screen) ของหน้าต่าง Command Prompt
Win : กดที่ Windows เพียงปุ่มเดียวก็สามารถที่จะเปิด หรือปิดเมนู Start ได้
Win+B : ใช้สำหรับเลือกไฮไลท์โปรแกรมที่อยู่ใน System tray ได้
Win+Ctrl +F : ใช้สำหรับค้นหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการ
Win+Break : ใช้สำหรับเปิดไดอะล็อกซ์ System Properties
Win+F2 : เปลี่ยนชื่อไฟล์ หรือโฟล์เดอร์ที่เลือกอยู่ในขณะนั้น
Win+F3 : เปิดกรอบค้นหาในโฟล์เดอร์ที่แอ็กทีฟ
Win+F4 : เปิด Address Bar ให้แสดง URL ก่อนหน้านี้ออกมา
Win+M : มินิไมหน้าต่างที่มีเปิดทำงานทั้งหมดDelete ลบ
F2 เปลี่ยนชื่อสิ่งที่เลือก
Ctrl+ --> เลื่อนเคอร์เซอร์ไปหน้าอักษรตัวแรก ของคำต่อไป
Ctrl+ <-- เลื่อนเคอร์เซอร์ไปหน้าอักษรตัวแรกของคำก่อนหน้านี้
F3 ค้นหาไฟล์หรือโฟลเดอร์
Alt+Enter แสดงคุณสมบัติของสิ่งที่เลือก
Alt+F4 ปิดสิ่งที่เปิดอยู่ หรือปิดโปรแกรมที่เปิดอยู่
Alt+Space แสดงเมนูลัดของวินโดว์ที่กำลังทำงาน
Ctrl+F4 ปิดวินโดว์เอกสารย่อย
Alt+Tab สลับไปยังโปรแกรมที่ทำงานอยู่
Alt+Esc แสดงโปรแกรมที่เปิดอยู่ตามลำดับที่เปิดใช้
F6 เลือกวนไปตามองค์ประกอบบนวินโดว์หรือบนเดสทอป
F4 แสดงรายการในแอดเดรสบาร์
Shift+F10 แสดงเมนูลัดของสิ่งที่เลือกไว้
Ctrl+Esc แสดงเมนูของปุ่ม start
F10 ไปที่แถบเมนูคำสั่งของวินโดว์ที่ทำงานอยู่
--> เปิดเมนูถัดไปทางขวา หรือเปิดเมนูย่อย
<-- เปิดเมนูถัดไปทางซ้าย หรือเปิดเมนูย่อย
F5 แสดงวินโดว์ที่ทำงานอยู่ถัดไป
BkSp เปิดดูโฟลเดอร์เหนือขึ้นไป 1 ระดับ My Computer หรือ Window Explorer
Esc ยกเลิกคำสั่งที่ทำอยู่
ที่มา : http://www.smiletips.com/Tips/Hotkeytips/Shortkey.asp
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=tatar&month=04-2005&date=28&group=4&gblog=4
วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2552
Boot,Boot record,bootstrap Loader
Boot เป็นการนำระบบปฏิบัติการเข้าสู่หน่วยความจำ เกิดขึ้นอัตโนมัติเมื่อเปิดเครื่อง หรือปิดแล้วเปิดใหม่ ชุดคำสั่งที่เก็บไว้ในรอบจะทำงานเริ่มด้วยการทำ Power-On Self Tests (POST) เพื่อตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ตามด้วยการหาระบบปฏิบัติการเพื่อนำเข้าสู่หน่วยความจำ แล้วก็ส่งการควบคุมคอมพิวเตอร์ต่อไปให้แก่ระบบปฏิบัติการ
Boot หรือการบู๊ตเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นการโหลดระบบปฏิบัติการเข้าสู่หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยความจำชั่วคราว (RAM) เมื่อมีการโหลดระบบปฏิบัติการ (บนเครื่องคอมพิวเตอร์จะเห็นการเริ่ม Windows หรือ Mac บนจอภาพ) แสดงว่าพร้อมให้ผู้ใช้เรียกใช้โปรแกรมประยุกต์ บางครั้งจะพบคำสั่ง "reboot" ในระบบปฏิบัติการ ซึ่งมีความหมายว่ามีการโหลดระบบปฏิบัติการใหม่ (การใช้คำสั่งนี้ที่คุ้นเคยกัน ให้กดปุ่ม (Alt, Ctrl และ Delete พร้อมกัน)
........การทำงานของคอมพิวเตอร์ (Boot Up) ก่อนที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานได้นั้นจะต้องนำเอาระบบปฏิบัติการเข้าไปเก็บไว้ยังหน่วยความจำของเครื่องเสียก่อน กระบวนการนี้เรียกว่า การบู๊ตเครื่อง (boot) นั่นเอง ซึ่งจะเริ่มทำงานทันทีตั้งแต่เปิดสวิทซ์เครื่อง มีขั้นตอนที่พอสรุปได้ดังนี้ คือ
Boot record
Boot record โปรแกรมสั้นๆซึ่งสามารถเก็บอยู่บนฮาร์ดดิสก์ที่ต้องถูกอ่านก่อนเมื่อเครื่องเริ่มทำงาน เมื่อเปิดสวิตซ์หรือบู๊ตเครื่อง โปรแกรมนี้จะสั่งให้ไปอ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ควบคุมและเข้ามาในหน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์อีกต่อหนึ่ง
Bootstrap loader
ที่มา : http://www.widebase.net/knowledge/itterm/it_term_desc.php?term_id=boot
http://jantip512.blogspot.com/2008/09/blog-post_25.html
วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2552
COMPAQ PRESARIO CQ40-527TX (VH127PA#AKL)
COMPAQ PRESARIO CQ40-527TX (VH127PA#AKL)
การพิจารณาเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อที่นิยมขายเป็นชุด (Computer Set)
เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการความสะดวก ไม่ต้องมาจุกจิกกนใจในการเลือกซื้อชิ้นส่วนอุปกรณ์มากนักโดยทั่วไปเวลาไปซื้อคอมพิวเตอร์แบบนี้ จะมีรายละเอียด (Spec) ของเครื่องอย่างคร่าวๆให้ดู คอมพิวเตอร์ยี่ห้อต่างๆที่มีวางขายอยู่ทั่วไปในบ้านเรา เช่น ยีห้อ Acer, HP, Lenovo, SVOA, VZiO, Supreme, SPIRIT และ ITRON เป็นต้น
ข้อดี
* มีบริการหลังการขายที่ดี เมื่อเครื่องเสียหรือมีปัญหาสามารถส่งซ่อมได้ทันที ช่างจะแก้ไขให้เสร็จสรรพหรือ
เครมอุปกรณ์ที่เสียให้ทันที
* ปัจจุบันส่วนใหญ่ มักแถมซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องมาให้ด้วย
* มีระบบเงินผ่อน
* ไม่ต้องเดินเลือกซื้อหาอุปกรณ์เองให้เสียเวลา
ข้อเสีย
* ไม่สามารถปรับเปลี่ยนหรือเลือกซื้อชิ้นส่วนอุปกรณ์ตามใจเองได้
* ราคาจะค่อนข้างแพงกว่าเลือกซื้อชิ้นส่วนมาจ้างหรือประกอบเองเล็กน้อย
คอมพิวเตอร์แบบเลือกซื้อชิ้นส่วนเพื่อนำมาจ้างหรือประกอบเอง
คอมพิวเตอร์แบบนี้เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการความพิถีพิถันในการเลือกชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่จะนำมาประกอบเป็นตัวเครื่องทั้งหมดได้ด้วยตัวเอง เพื่อให้ได้เครื่องที่สเป็คตรงตามความพอใจของเรามากที่สุด ซึ่งในการเสือกซื้อนั้นอันที่จริงผู้ใช้ควรจะต้องมีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับเรื่องของชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อยู่บ้าง แต่เดี๋ยวนี้ถึงแม้ไม่ชำนาญแทบทุกร้านก็มีบริการเลือกและจัดชุดคอมพิวเตอร์ให้เสร็จสรรพเรียบร้อย
ข้อดี
* สามารถเลือกซื้อชิ้นส่วนแต่ละชิ้นได้ด้วยตัวเอง ซึ่งจะทำให้เราสามรถเปรียบเทียบราคาในแต่ละร้าน พร้อมทั้งเลือกหาอุปกรณ์ที่เราคิดว่าเหมาะสมที่สุดได้
* ราคาจะค่อนข้างถูกกว่าคอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อ
ข้อเสีย
* ผู้ซื้อต้องมีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับเรื่องของชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อยู่พอสมควร โปรแกรมทั้งหมดจะต้องหามาติดตั้งเอง ส่วนบางร้านที่ติดตั้งให้เสร็จสรรพ ซอฟต์แวร์นั้นอาจไม่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง
* ต้องใช้เวลาในการเดินเลือกซื้อหาอุปกรณ์ และเปรียบเทียบราคา
* เมื่ออุปกรณ์ตัวใดเกิดเสียหรือชำรุด ถ้ายังอยู่ในระยะเวลาประกัน เราจะต้องนำอุปกรณ์ตัวนั้นไปเครมที่บริษัทตัวแทนจำหน่ายเอง
เลือก Intelหรือ AMD
ก่อนที่จะเลือกรุ่นของซีพียู สิงแรกที่เราต้องเลือกก็คือ Intel หรือ AMD ดี ซึ่งเป็นอันดับแรกที่จะต้องตัดสินใจก่อนที่จะเลือกองค์ประกอบอื่นๆ ต่อไป ชื่อเสียงของ Intel คงเส้นคงวามาตลอด แต่ก็ถูก AMD แซงไปในช่วงของ 64 บิต และDual Core ที่ AMD ออก Athlon 64x32 มาก่อน ซึ่งเป็นซีพียูที่มีประสิทธิภาพดีและไม่มีปัญหาเรื่องความร้อน แต่อย่างไรก็ตาม มาถึงวันนี้ที่ Intel ออก Core 2 Duo มาก็ทำให้สถานการณ์พลิกกลับไปเป็นว่าซีพียูของ Intel มีความเร็วสูงสุดในการประมวลผลแทบทุกอย่าง ซึ่งในสุด AMD ก็ยังคงใช้กลยุทธ์ของการตัดราคาเพื่อให้ซีพียูของ AMD มีราคาต่อประสิทธิภาพ (price/performance) ต่ำที่สุด
สรุปง่ายๆ ก็คือ ให้เลือก AMD ถ้าต้องการประสิทธิภาพที่คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป และเลือก Intel ถ้าสนใจเรื่องยี่ห้อหรือไม่ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพใดๆ (ต้องการเครื่องระดับต้นๆซึ่งราคาอาจจะพอๆกัน)
ปัจจุบัน Intel ถือได้ว่าเป็นบริษัทผู้ผลิตซีพียูสำหรับเครื่องพีซีรายใหญ่ที่สุดของโลก และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากที่สุด ซึ่งถ้าพูดถึงซีพียูในยุคปัจจุบันคงไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่าไม่รู้จักซีพียูในตระกูล Pentium และ Celeron ของ Intel อย่างแน่นอน ในการพิจารณาเลือกซื้อซีพียูนั้น เมื่อเลือกยี่ห้อได้แล้วก็ต้องมมองกันที่ปัจจัยในหลายๆด้าน ที่จะนำมาซึ่งความมีประสิทธิภาพของซีพรยูนั่นก็คือ ความเร็ว ซึ่งไมอาจจะดูกันที่กิกะเฮิร์ตซ์เพียงอย่างเดียวได้อีกต่อไป เพราะปัจจุบันเริ่มเข้าสู่ช่วงเวลาของ Muil Core กันแล้วโดย Intel ได้ออกซีพียูแบบ 2 และ 4 Core ออกมาหลายรุ่น ซึ่งก่อให้เกิดประเด็นในการเลือกซื้อขึ้นมาใหม่
การเลือกรุ่นซีพียูของ AMD ก็ทำได้ง่ายๆโดยดูที่ตัวเลข Model ของรุ่นเท่านั้นก็เปรียบเทียบประสิทธิภาพกันได้แล้ว โดยไม่จำเป็นต้องสนใจว่าเป็น Sempron หรือ Athlon แต่ชื่อรุ่นเหล่านี้ก็ช่วยในการเลือกในภาพรวมๆได้เป็นอย่างดีก็คือ ถ้าต้องการเครื่องราคาประหยัดก็ใช้ Sempron ถ้าต้องการประสิทธิภาพปานกลางก็เลือก Athlon 64 และถ้าต้องการประสิทธิภาพสูงสุดให้เลือก Athlon64x2 หรือ Athlon 64 FX
แบบ Tray เป็นซีพียู หรือชิ้นส่วนที่ถูกนำเข้ามาโดยปราศจากกล่องหรือบรรจุภัณฑ์ห่อหุ้ม ซึ่งมักจะถูกสั่งนำเข้ามาครั้งละจำนวนมากๆ โดยผู้ค้าปลีกหรือผู้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อที่ประกอบเสร็จภายในประเทศ ซึ่งทำให้มีราคาต่ำกว่า ปัจจุบันซีพียูแบบ Tray จะพบได้น้อยลง โดยเฉพาะซีพียูรุ่นใหม่ๆที่มะจาก Intel เนื่องจากส่วนใหญ่ต้องใช้กับพัดลมระบายความร้อนซีพียูที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ ซึ่งจะให้มาพร้อมกับซีพียูโดยบรรจุเอาไว้อยู่ภายในกล่องอย่างครบถ้วน
* ราคาถูกกว่าแบบ Box ประมาณ 400-600 บาท
* ต้องหาซื้อพัดลมระบายความร้อนซีพียูเพิ่มเอง
ข้อเสีย
* มีโอกาสที่คุณจะบังเอิญได้ชิ้นส่วนที่มีปัญหา ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นได้ในระหว่างการขนส่ง
* ไม่มีพัดลมระบายความร้อนซีพียูแถมมาด้วย
* ระยะเวลาในการรับประกันส่วนใหญ่มักแค่เพียง 1 ปีเท่านั้น
แบบ Box เป็นซีพียูหรือชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถูกนำเข้ามาอย่างถูกต้อง โดยแต่ละชิ้นจะบรรจุอยู่ภายในกล่องหรือบรรจุภัณฑ์ห่อหุ้มอย่างมิดชิด มีตราสัญลักษณ์บ่งบอกยี่ห้อ/รุ่นของผลิตภัณฑ์อย่างชัดเจนและถ้าเป็นซีพียูแบบ Box จะมีพัดลมระบายความร้อนที่ออกแบบมาอย่างเหมาะสมบรรจุภายในกล่องด้วยตั้งแต่โรงงานผลิตจนถึงมือของผู้ซื้อเลย
ข้อดี
* มั่นใจได้ว่าได้ชิ้นส่วนที่สมบูรณ์ เพราะมีความปลอดภัยในระหว่างขนส่ง
* มีพัดลมระบายความร้อนซีพียูแถมมาด้วย
* มีระยะเวลาในการับประกันยาวนานถึง 3 ปี
ข้อเสีย
* ราคาแพงกว่าแบบ Tray ประมาณ 400-600 บาท
การเลือกซื้อชุดระบายความร้อนให้กับซีพียู (CPU Fan & Heat Sink)
สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกซื้อชุดระบายความร้อนให้กับซีพียู ซึ่งประกอบด้วย พัดลมระบายความร้อน และฮีตซิงค์ ก็คือ วัสดุที่ใช้ฮิตซิงค์ การออกแบบครีมระบายความร้อน ความเร็วรอบในการหมุนของพัดลมซีพียู และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เป็นรูปแบบที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับซีพียู และซ็อคเก็ตแบบใด ซึ่งแต่ละแบบไม่เหมือนกัน
วัสดุที่ใช้ทำตัวฮิตซิงค์
อลูมิเนียม เป็นวัสดุระบายความร้อนได้เร็ว และสามารถขึ้นเป็นรูปครีบแบบต่างๆได้สะดวก ฮีตซิงค์ที่ผ่านมาส่วนมากจะทำมาจากอลูมิเนียมทั้งตัว ซึ่งก็มีอยู่หลายรุ่น หลายยี่ห้อ แต่ในปัจจุบันซิงค์แบบอลูมิเนียมทั้งตัวนี้ค่อยๆหมดความนิยมไป
อลูมิเนียมกับทองแดง เป็นการนำเอาข้อดีของทั้ง 2แบบมารวมกัน และออกแบบให้เหมาะสมกับการทำงานคือ ให้ส่วนที่เป็นทองแดงสัมผัสกับซีพียูเพื่อให้ดูดหรือถ่ายความร้อนจากซีพียูออกมาไว้ที่ทองแดงโดยเร็วก่อนที่จะถ่ายเทความร้อนส่งต่อให้ส่วนที่เป็นครีบอลูมิเนียมไประบายความร้อนออก โดยใช้พัดลมช่วยเป่า
การออกแบบครีบระบายความร้อน
การออกแบบครีบระบายความร้อนบนตัวฮีตซิงค์ก็มีความสำคัญเช่นกันคือ ต้องออกแบบให้ครีบมีลักษณะบาง เพื่อให้ระบายความร้อนได้เร็ว และจำนวนมาก เพื่อให้มีพื้นที่ผิวสัมผัสกับอากาศมาก ซึ่งจะทำให้สามารถระบายความร้อนออกจากตัวได้เร็วยิ่งขึ้น
ความเร็วรอบในการหมุน (rpm) ของพัดลมซีพียู
พัดลมซีพียูที่ขายอยู่ทั่วไปจะมีความเร็ว 1-3 พันรอบต่อนาที แต่ในบางรุ่นอาจจะมีความเร็วสูงถึง 6,000 รอบ ความเร็วรอบในการหมุนของพัดลมนั้นยิ่งมากก็ยิ่งระบายอากาศได้เร็ว แต่ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบฮิตซิงค์ด้วย จากคุณสมบัติต่างๆ ที่กล่าวมา นอกเหนือจากการติดตามข่าวสาร การทดสอบอุปกรณ์ต่าง ๆ และการสอบถามจากเพื่อนๆหรือคนที่รู้จักส่วนหนึ่งด้วย เพื่อนำมาประกอบกันเป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกซื้อชุดระบายความร้อนให้กับซีพียู
ถูกออกแบบมาเพื่อซ็อคเก็ตแบบใด
ก่อนตัดสินใจซื้อควรดูก่อนว่าซีพียูที่ใช้เป็นซีพียูอะไร ใช้กับซ็อคเก็ต เพราะแต่ละรุ่นถูกออกแบบมาให้ใช้กับซีพียูและซ็อคเก็ตนั้นๆโดยเฉพาะ ไม่เช่นนั้นจะใส่กันไม่ได้ แต่ซีพียูรุ่นใหม่ๆมักจะมีชุดระบายความร้อนมาด้วยซึ่งนอกจากจะถูกออกแบบมาอย่างเหมาะสม ยังช่วยให้ไม่ต้องลำบากไปเดินซื้อหาด้วย
การเลือกซื้อเมนบอร์ด (Main board)
เมนบอร์ด ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์หลักที่มีความสำคัญรองลงมาจากซีพียู ฉะนั้นนอกจากปัจจัยในเรื่องของราคาที่ผู้ซื้อจะต้องพิจารณาด้วยตัวเองแล้ว ข้อควรคำนึงถึงในการเลือกซื้อเมนบอร์ดให้ได้เหมาะสมและคุ้มค่าตรงกับความต้องการนั้นมีอะไรบ้าง ซึ่งสรุปได้ดังนี้
เลือกรูปแบบหรือฟอร์มแฟกเตอร์ให้เหมาะสมกับเคส
ก่อนอื่นที่เราจะต้องทราบก่อนว่าคอมพิวเตอร์ที่เราจะใช้นั้นควรต้องใช้รูปแบบของตัวเครื่องหรือเคสในลักษณะใด ส่วนใหญ่เคสที่ใช้ก็มักจะเป็น Medium Tower ซึ่งใช้ได้กับเมนบอร์ดที่เป็นแบบ ATX และ Micro ATX แต่ถ้าใช้เคสที่เล็กกว่านี้ก็จะต้องใช้แค่ FlexATX และ MicroATX เท่านั้น
เลือกช่องสำหรับติดตั้งซีพียูบนเมนบอร์ด
ปัจจุบันซีพียูที่วางจำหน่ายอยู่ก็จะมีของ Intel และ AMD ซึ่งมีอยู่มากมายหลายรุ่นที่ต้องใช้กับช่องเสียบหรือช็อกเก็ตที่แตกต่างกัน แล้วเวลาที่เลือกซื้อเมนบอร์ดถ้าไม่ทราบว่าซีพียูนั้นเหมาะสมกับซ็อคเก็ตแบบใด ก็ให้สังเกตบนกล่องเมนบอร์ดว่าใช้กับซีพียูยี่ห้อใด รุ่นใด หรือสอบถามจากคนขายว่าเมนบอร์ดรุ่นนี้นำไปใช้กับซีพียูที่มีอยู่ได้หรือไม่
เลือกชิปเซ็ตที่เหมาะสมบนเมนบอร์ด
การเลือกชิปเซ็ตนั้นถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะชิปเซ็ตมีผลต่อทุกสิ่งทุกอย่างของเมนบอร์ด เป็นตัวกำหนดว่าเมนบอร์ดนี้ใช้กับซีพียูชนิดใดได้บ้าง รองรับหน่วยความจำชนิดใด มีสล็อตประเภทใดบ้าง สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประเภทใดบ้าง และมีขีดจำกัดในการขยายความสามารถมากน้อยเพียงใดด้วยเหตุนี้ชิปเซ็ตจึงเป็นหัวข้อหลักในการพิจารณาเลือกซื้อเมนบอร์ด
เลือกช่องสล็อตสำหรับติดตั้งหน่วยความจำ
หน่วยความจำแรมซึ่งต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับซีพียู เพื่อให้สามรถทำงานร่วมกันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ประเภทของแรมที่จะนำมาใช้เป็นหน่วยความจำหลักบนเมนบอร์ดนั้นมีมากมาย แต่ที่กำลังเป็นที่นิยมกันมากที่สุดคือ DDR2-SDRAM ซึ่งแบ่งออกตามความเร็วและแบนด์วิดธ์ได้หลายรุ่น ส่วนรุ่นใหม่ที่จะใช้กันมากขึ้นเรื่อยๆก็คือ DDR3-SDRAM เมื่อทราบแล้วว่าจะใช้แรมประเภทใด ต่อมาก็คือ เลือกขนาดของหน่วยความจำที่เราจะใช้ นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ไม่ควรมองข้ามและควรศึกษาวิธีคิดไว้ นั่นก็คือ ความเร็วบัสของหน่วยความจำที่เหมาะสมกับซีพียูที่ใช้ ซึ่งจะอยู่ในหัวข้อการเลือกซื้อหน่วยความจำแรมที่อยู่ถัดไป
เลือกชนิดและจำนวนของช่องสล็อตบนเมนบอร์ด
ปกติแล้วบนเมนบอร์ดที่ใช้มาตรฐาน ATX ทั่วไปมักจะจำนวนช่องเสียบการ์ดหรือสล็อตที่ใกล้เคียงกัน จะแตกต่างกันบ้างก็เพียง 1-2 สล็อตเท่านั้น แต่สิ่งที่เห็นได้เด่นชัดสำหรับความแตกต่างบนเมนบอร์ดรุ่นใหม่คือ ชนิดของสล็อตที่นำมาใช้ ซึ่งแบ่งแยกเมนบอร์ดที่มีขายอยู่ตามท้องตลาดออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆคือ ใช้ระบบบัส PCI-Express ล้วนๆ กับแบบที่มีสล็อต PCI มาให้ใช้เสียบการ์ดเก่าได้ด้วย ซึ่งจะต้องเลือกเมนบอร์ดให้ถูกต้องตรงกันตั้งแต่แรก
เลือกช่องเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกหรือพอร์ตแบบต่างๆ
ในกรณีที่มีอุปกรณ์จำพวก การ์ดจอ การ์ดโมเด็ม ในรูปแบบของชิปบนเมนบอร์ด (On Board) อาจจะมีช่องต่อหรือพอร์ตนอกเหนือจากที่กล่าวมา เช่น พอร์ต D-Sub ที่ใช้ต่อกับจอภา พอร์ต TV-Out ที่ใช้ต่อกับทีวี และพอร์ตโมเด็ม (RJ-11) ที่ใช้ต่อกับสายโทรศัพท์ เป็นต้น
เลือกคุณสมบัติพิเศษอื่นๆเพิ่มเติม
นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วควรพิจารณาคุณสมบัติพิเศษอื่นๆด้วย ได้แก่ มีพอร์ตหรือขั้วต่อ SATA Connector บนเมนบอร์ดอย่างน้อย 2 ขั้ว เพื่อรองรับการเชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์แบบSATA หรือ Serial ATA และควรเลือก SATA2 และอาจจะมี RAID Controller สำหรับการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์ในลักษณะ RAID เป็นต้น รวมทั้งควรคำนึงถึงการรับประกันด้วย ซึ่งเมนบอรดส่วนใหญ่จะมีระยะเวลาในการรับประกัน 3 ปี
การเลือกซื้อหน่วยความจำ (RAM)
RAM เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง ซึ่งจะต้องใช้ความละเอียดรอบคอมในการเลือกซื้ออยู่พอสมควร เนื่องจาก RAM เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานร่วมกับซีพียูอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่างในการพิจารณาเลือกซื้อ เพื่อให้เหมาะสมสำหรับซีพียูและเมนบอร์ดที่ใช้ ซึ่งก็มีวางขายกันอยู่หลายยี่ห้อ เช่น Hitachi, Hyundai, Infineon, JetRAM, Micron, NCP, Lemel, Samsung, Kingmax และ Kingston เป็นต้น นอกเหนือจากนี้ยังควรพิจารณาคุณสมบัติต่าง ๆและข้อควรคำนึงถึงในการเลือกซื้อ RAM เช่น ชนิดของ RAM ขนาดความจุของ RAM ความเร็วบัสของ RAM การรับประกัน เป็นต้น
การเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)
ปัจจุบันมีฮาร์ดดิสก์ขายกันอยู่มากมายหลายยี่ห้อ เช่น HITACHI, Samsung, Seagate และ Westem Digital เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นที่นิยมทั้งสิ้น ดังนั้นนอกจากปัจจัยในเรื่องของราคาและยี่ห้อแล้วนั้นคุณสมบัติและข้อควรพิจารณาในการเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์มีดังนี้
- ความจุข้อมูล การพิจารณาเลือกซื้อให้ดูที่ความเหมาะสมของงานที่เราจะนำไปใช้ เช่นทั่วไป ขนาดที่นิยมใช้กันคือ 160-320 GB
- ความเร็วรอบในการหมุน ความเร็วในการหมุนของดิสก์เป็นสิ่งที่มีผลกับความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูลมากทีเดียว ฮาร์ดดิสก์ที่นิยมใช้กับโน้ตบุ๊คจะหมุนอยู่ที่ความเร็ว 4200 และ 5400 ส่วนฮาร์ดดิสก์สำหรับพีซีที่ใช้กันโดยทั่วไปจะหมุนอยู่ที่ความเร็ว 7200 รอบต่อนาที
- อินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์ อินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์ที่นิยมใช้กันมานาน จะเป็นแบบ ATA-100 และ ATA-133 แต่ในปัจจุบันเปลี่ยนไปใช้ Serial ATA หรือ SATA ซึ่งมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดถึง 150 MB/s และล่าสุดคือ SATA 2ที่มีความเร็วถึง 300 MB/s
- ขนาดของบัฟเฟอร์ เป็นหน่วยความจำขนาดเล็กที่ทำหน้าที่เป็นตัวพักข้อมูลก่อนที่จะมีการอ่านหรือเขียนข้อมูลลงไปในฮาร์ดดิสก์จริงๆ ดังนั้นยิ่งขนาดของบัฟเฟอร์มีมากเท่าไรก็ยิ่งดี แต่ราคาก็อาจจะพงตามไปด้วย โดยทั่วไปจะมีขนาดตั้งแต่ 2,8,16 MB
- การรับประกัน ฮาร์ดดิสก์ส่วนใหญ่จะมีระยะเวลาในการรับประกันยาวนานถึง 5 ปี
การเลือกซื้อการ์ดแสดงผล (VGA Card)
ปัจจุบันการ์ดแสดงผลมีออกมาหลายรุ่น หลายยี่ห้อ หลายราคา และหลากหลายประสิทธิภาพแตกต่างกันไป ซึ่งผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จที่แท้จริงของเหล่าบรรดาการ์ดแสดงผลทั้งหลายนั้นก็คือ ผู้ผลิตชิปประมวลผลกราฟิกนั่นเอง ซึ่งมีอยู่แค่ 2 รายคือ nVidia ผู้ผลิต GeForce ที่หลายคนรู้จักกันดีกับ ATI (ที่ปัจจุบันเป็นของ AMD) ผู้ผลิตชิปตระกูล Radeon ที่เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ nVidia นั่นเอง คุณสมบัติต่างๆ และข้อควรคำนึงถึงในการเลือกซื้อการ์ดแสดงผล เช่น
- ชิปประมวลกราฟิก เป็นส่วนสำคัญทีควรพิจารณาเป็นอันดับแรก ซึ่งก็ดูที่การนำไปใช้งาน เช่น ถ้าใช้งานทั่วไปก็ใช้ชิปของ nVidia รุ่น GeForce FX 7200 หรือ ATI รุ่น Radeon X1300 ก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้านำเอาไปใช้ในงานอื่นๆ ก็อาจต้องใช้ชิปรุ่นที่มีประสิทธิภาพสูงกว่านี้ ซึ่งราคาก็แพงขึ้นตามไปด้วย
- อินเตอร์เฟสของการ์ด เนื่องจากเมนบอร์ดใหม่ๆใช้บัสแบบ PCI Express กันหมดแล้ว จึงต้องใช้การ์ดแบบ PCI Express x16 ด้วย
- ชนิดและขนาดของหน่วยความจำบนตัวการ์ด หน่วยความจำบนตัวการ์ดแสดงผล ส่วนใหญ่ใช้อยู่ 2 ชนิด คือ DDR II ซึ่งเป็นการ์ดแสดงผลในระดับราคาไม่แพงจนถึงปานกลาง และ DDR III เป็นการ์ดแสดงผลประสิทธิภาพสูงที่มีราคาแพง
- พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ ในที่นี้หมายถึงช่องต่อต่าง ๆที่มีมาให้แสดงผล เช่น พอร์ต D-Sub ที่ใช้ส่งสัญญาณแบบอนาล็อกไปยังจอภาพ,พอร์ต DVI ที่ใช้ส่งสัญญาณแบบดิจิตอลล้วนๆไปยังจอภาพ เป็นต้น
- มาตรฐานของ API ที่รองรับ การ์ดแสดงผลที่รองรับกับซอต์ฟแวร์มาตรฐานสำหรับงาน 3 มิติ เพราะมีแนวโน้มว่าซอต์ฟแวร์อาทิเช่น เกมส์ใหม่ๆ จะมีความต้องการ API ระดับนี้เพิ่มมากขึ้น
การเลือกซื้อการ์ดเสียง (Sound Card)
การพิจารณาเลือกซื้อนอกเหนือจากเรื่องของยี่ห้อและราคาแล้วก็ควรจะต้องคำนึงถึงปัจจัยและคุณสมบัติต่างๆ ซึ่งสิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกซื้อมีดังนี้
- รูปแบบของการ์ดเสียง โดยทั่วไปมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ แบบออนบอร์ด ซึ่งอยู่ในรูปแบบของชิปเสียงบนเมนบอร์ด กับการ์ดเสียงแบบเป็นตัวการ์ดที่มีอินเตอร์เฟสเป็นแบบ PCI ซึ่งต้องซื้อมาติดตั้งเพิ่ม ใช้เสียบในสล็อต PCI บนเมนบอร์ด
- ลักษณะงานที่จะนำไปใช้ ความเหมาะสมกับงานที่จะนำไปใช้เป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งจำแนกออกเป็นกลุ่มดังนี้
*ใช้ดูหนังฟังเพลง โดยใช้ร่วมกันกับลำโพง 2 ตัว แยกซ้าย-ขวาธรรมดา ก็อาจใช้เพียง Sound Onboard มาตรฐาน AC’97 บนเมนบอร์ดราคาถูกก็ได้
* ใช้ดูหนังฟังเพลงในระดับโฮมเธียร์เตอร์หรือเล่นเกมส์แบบจริงจังที่ต้องการคุณภาพเสียงในระบบเซอร์ราวด์รอบทิศทางตั้งแต่ 2.1 CH ขึ้นไปควบคู่กันกับชุดลำโพงคุณภาพดีชิปที่ใช้ควรจะเป็นมาตรฐาน Intel High Definition Audio ที่มาพร้อมกับชิปเซ็ตในตระกูล i9xx P35 หรือ P45
*จะนำไปใช้เฉพาะงานก็คงต้องพึ่งพาการ์ดเสียงคุณภาพสุดยอดอย่าง Creative SB Audigy 4 Pro หรือ Creative SB Audigy 2 ZS Platinum Pro และล่าสุดกับการ์ดเสียงในตระกูล X-Fi ก็ดูจะเหมาะสมที่สุด
การเลือกซื้อลำโพง (Speaker)
หลักสำคัญในการพิจารณาเลือกซื้อลำโพงมีดังนี้
- รูปแบบของลำโพง ควรพิจารณาตามความเหมาะสมกับลักษณะของงานที่จะนำไปใช้ ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็นกลุ่ม ๆ ดังนี้
* ชุดลำโพงมัลติมีเดียสำหรับคอมพิวเตอร์ทั่วไป เป็นระบบสเตอริโอแยกลำโพงซ้าย/ขวา 2 ข้างลำโพงระดับนี้ถ้าคุณภาพทั่วไปจะมีราคาคู่ละประมาณ 2-3 ร้อยบาทเท่านั้น แต่ถ้ายี่ห้อดีหน่อย ราคาก็จะสูงเกือบๆ 1,000 บาทเลยทีเดียว
* ชุดลำโพงพร้อมซับวูฟเฟอร์ เป็นลำโพงแบบ 3 ชุด ปัจจุบันมีราคาตั้งแต่ 1,000-6,000 บาท ซึ่งชุดลำโพงแบบนี้ถือว่าให้คุณภาพเสียงที่ดีเยี่ยมแล้ว
* ลำโพงมัลติมีเดียแบบดิจิตอล เป็นลำโพงที่รับสัญญาณดิจิตอลจากเครื่องพีซีเข้าทางพอร์ต USB และขยายสัญญาณเสียงให้ดังออกลำโพงโดยตรง
* ชุดลำโพงระบบเสียงรอบทิศทาง เป็นชุดลำโพงชุดใหญ่ที่ประกอบไปด้วยลำโพงตั้งแต่ 5-8 จุด ราคาก็มีตั้งแต่ 10,000-30,000 บาท กับประเภทที่ไม่มีตัวถอดรหัส ซึ่งได้รับความนิยมในหมู่คอเกมส์ที่ชื่นชอบอรรถรสในการเล่นเกมส์แบบสมจริงสมจัง ราคาก็มีตั้งแต่ 3,000-9,000 บาท
- กำลังขับหรือกำลังขยายเสียงของลำโพง ค่า RMS (Root Means Square) สำหรับมาตรฐานที่ใช้ในวงการอุตสาหกรรมเครื่องเสียงเป็นค่าที่ได้มาจากการเฉลี่ยกำลังงานหรือกำลังขยายเสียงของลำโพงที่มีภาคขยายในตัว ยิ่งกำลังวัตต์มาก ก็ยิ่งให้เสียงที่ดังกระหึ่มมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
การเลือกซื้อไดร์วซีดีรอม และไดร์วดีวีดี
หลักสำคัญในการเลือกซื้อไดร์วดีวีดีอาร์ดับบลิวมีดังนี้
- ความเร็ว ความเร็วในการเขียนข้อมูลลงบนแผ่น CD และ DVD ซึ่งมีมาตรฐาน –Rและ +Rปัจจุบันความเร็วในการเขียนแผ่น DVD-R/DVD+R สูงสุดอยู่ที่ 20x/20x ความเร็วในการเขียนแผ่น DVD-RW/DVD+RW สูงสุดอยู่ที่ 6x/8x และมีความเร็วในการอ่านแผ่น DVD สูงสุดอยู่ที่ 20x
- ขนาดของบัฟเฟอร์ ใช้สำหรับพักข้อมูลในการเขียนและอ่าน ดังนั้นยิ่งขนาดของบัฟเฟอร์ใหญ่มากเท่าไรก็ยิ่งดี ซึ่งโดยทั่วไปจะมีขนาด 2MB
- คุณสมบัติ Dual Format ปัจจุบันควรมีคุณสมบัติ Dual Format คือ สามารถเขียนแผ่น DVD ได้ทั้งมาตรฐาน –R และ +R
- คุณสมบัติ Dual Layer หรือ Double Layer ปัจจุบันส่วนใหญ่จะมีคุณสมบัติในการเขียนแผนความจุสูงอย่างแผ่น DVD+R9 ซึ่งมีความจุมากถึง 8.5 GB ซึ่งเพิ่มขึ้นมาเกือบเท่าตัว
- เทคโนโลยีที่ช่วยในการเขียนแผ่น ช่วยลดปัญหาในการเขียนแผ่น CD ก็มักจะอยู่ในไดร์วดีวีดีอาร์ดับบลิวทุกตัว
การเลือกซื้อจอภาพ
จอภาและจอแสดงผล เป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่เราจะต้องติดต่อหือเกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลาผ่านดวงตาที่มีอยู่เพียงคู่เดียวของเรา ดังนั้นในการเสือกใช้จอภาพให้เหมาะสมกับงานและสุขภาพของดวงตาก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องทำควบคู่กันไปด้วย หลักสำคัญในการพิจารณาเลือกซื้อจอภาพให้เกิดความคุ้มค่าและเหมาะสมมีดังนี้
* จอภาพแบบ CRT (Cathode Ray Tube) เป็นจอภาพที่มีรูปทรงใหญ่โต ภายในบรรจุหลอดภาพแบบCRT แบบที่ใช้กับทีวี ปัจจุบันมีราคาถูกมากเพราะไม่เป็นที่นิยม
* จอภาพแบบ LCD (Liquid Crystal Display) เป็นจอภาพที่มีรูปร่างยาง น้ำหนักเบา และหน้าจอแบนราบ ข้อดีของจอชนิดนี้คือไม่ทำให้สายตาเมื่อยล้าเมื่อจ้องมองเป็นเวลานาน ๆ แต่ข้อเสียก็คือ ให้ความสว่างของหน้าจอน้อยกว่าจอแบบ CRT ให้ความละเอียดสูงสุดที่ค่าใดค่าหนึ่งเท่านั้น ต้องระวังในการดูแลรักษา เพราะหน้าจอเกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย
- ขนาดของจอภาพ ปัจจุบันนิยมใช้จอภาพแบบLCD 17 หรือ 19 นิ้วด้วยความละเอียดสูงสุดที่ 1280x1024 ขึ้นไปหรือ Wide Screen 19-22 นิ้ว
- ความละเอียดของการแสดงผล (Resolution) สำหรับจอภาพแบบ CRT ควรแสดงได้ดีที่ 1024x768 Pixels ขึ้นไปจนถึงความละเอียดสูงสุดที่ 1280x1024 ส่วนจอภาพแบบ LCD ถ้าเป็น 15 นิ้วค่าความละเอียดสูงสุดอยู่ที่ 1024x768 Pixels ส่วนจอขนาด 17 และ 19 นิ้ว จะมีความละเอียดที่เหมาะสมอยู่ที่ 1280x1024 Pixels
- อัตราการีเฟรช (Refresh Rate) สำหรับจอภาพแบบ CRT ควรมีค่า Refresh Rate ตั้งแต่ 75 Hz ขึ้นไป ถ้ามีค่า Refresh Rate ต่ำจะทำให้จอภาพกะพริบอยู่ตลอดเวลา มีผลทำให้ปวดตาเมื่อยล้าและอาจปวดหัวได้ ส่วนจอภาพแบบ LCD ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงค่านี้ เนื่องจากไม่มีการสร้างภาพใหม่ซ้ำๆเหมือนกับจอCRT
- ระยะ Dot Pitch สำหรับจอภาพแบบCRT ควรมีค่าต่ำกว่า 0.28 มิลลิเมตร ซึ่งถ้ายิ่งเล็กเท่าไรภาพที่ได้ก็ยิ่งละเอียดมากขึ้น ส่วนจอภาพแบบ LCD ควรมีค่าระยะ Dot Pitch ตั้งแต่0.297 มิลลิเมตร ลงมา
- ความสว่างบนจอภาพ (Brightness) ทั้งจอภาพแบบ CRT และแบบ LCD ควรมีค่าความสว่างสูงสุดที่สามารถแสดงผลบนหน้าจอมากกว่า 150 ลุเมนต่อตารางเมตร (cd/m2) ขึ้นไป
- อัตราส่วนของความคมชัดของภาพ (Contrast Ratio) สำหรับจอภาพแบบ CRT ควรมีอัตราความคมชัดไม่น้อยกว่า 400:1 ส่วนจอภาพแบบ LCD ควรมีอัตราความคมชัดไม่น้อยกว่า 300:1 โดยค่านี้ยิ่งมากยิ่งทำให้ภาพที่ชัดเจนมากขึ้นด้วย
- ขอบเขตของมุมมองในการมองภาพ (Viewing Angle) จอ LCD ใหม่ๆ จะมีมุมมองภาพมากกว่า 170 องศา ซึ่งทำให้ไม่มีขีดจำกัดเรื่องมุมมองอีกต่อไป
การเลือกซื้อการ์ดแลน (LAN Card)
การพิจารณาเลือกซื้อการ์ด LAN เพื่อนำมาเชื่อมต่อกับเครื่องอื่น ๆ ในระบบเครือข่ายนั้น นอกเหนือจากเรื่องของยี่ห้อและราคาแล้วสิ่งที่ควรจะต้องคำนึงถึงมีดังนี้
- รูปแบบของการ์ด LAN โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งออกเป็น 2 แบบดังนี้
* แบบออนบอร์ด (LAN Onboard) อยู่ในรูปชิปเน็ตเวิร์ก ซึ่งติดตั้งอยู่แล้วบนเมนบอร์ด โดยส่วนใหญ่มักจะมีมาให้ จะแตกต่างกันก็เพียงแต่ว่าสนับสนุนอัตราความเร็วสูงสุดที่เท่าใด
- อัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลและความเหมาะสมกับลักษณะของงานที่จะนำไปใช้
การเลือกซื้อการ์ด Wireless LAN และ Access Point
เครือข่ายแบบไร้สายหรือ Wireless LAN(เรียกสั้นๆว่า WLAN) เป็นเครือข่ายที่อาศัยคลื่นวิทยุ (Radio Frequency) ในการรับส่งข้อมูล โดยเครื่องที่ติดตั้งการ์ด Wireless LAN ไว้จะรับส่งข้อมูลกับตัวรับหรือที่เรียกว่า Access Point ที่ต่อด้วยสาย LAN ธรรมดาเข้ากับเครื่องอื่น ๆอีกทอดหนึ่ง ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดคือไม่ต้องเดินสายให้ยุ่งยากเกะกะ ซึ่งเหมาะกับการใช้งานในบ้านหรือที่ซึ่งไม่สะดวกในการเดินสายและที่ๆไม่มีปัญหาเรื่องการรบกวนของสัญญาณวิทยุมากนัก ดังนั้นการพิจารณาคุณสมบัติและข้อควรคำนึงในการเลือกซื้อการ์ด Wireless LAN และ Access Point ดังนี้
- มาตรฐานและอัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่ใช้ มาตรฐานที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายอยู่ในปัจจุบันก็คือ IEEE 802.11g และมาตรฐานใหม่คือ IEEE 802.11n ซึ่งมีอัตราความเร็วสูงกว่า 802.11g ถึง 5 เท่า
การเลือกซื้อ Modem ADSL/ADSL Router/ADSL Wireless Router
ในส่วนของการเลือกซื้อ ควรพิจารณาก่อนว่าจะมีโอกาสได้ใช้ Wireless LANหรือไม่ ถ้ามีความเป็นไปได้ ก็ควรซื้อแบบที่มี Wireless ไปเลย เพราะเพิ่มค่าใช้จ่ายไม่มากนัก และไม่จำเป็นต้องหาซื้อ Access point มาต่อเพิ่มในภายหลัง ซึ่งในการเลือกก็ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับการเลือก Access Point การพิจารณาคุณสมบัติต่าง ๆและ ข้อควรคำนึงถึงในการเลือกซื้อโมเด็ม มีดังนี้
- รูปแบบของ Modem โดยทั่วไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
* โมเด็มแบบติดตั้งภายในเครื่อง (Internal) เป็นแบบการ์ดที่ใช้กับสล็อต PCI ข้อดีของโมเด็มแบบนี้คือ ราคาถูก ไม่เกะกะพื้นที่ ส่วนข้อเสียคือ ติดตั้งลำบาก เพราะจำเป็นต้องเปิดฝาเคสออกมาและไม่มีไฟแสดงสถานะในการทำงาน
* โมเด็มแยกติดตั้งภายนอกตัวเครื่อง (External) จะมีลักษณะเป็นกล่องเล็กๆ วางอยู่ภายนอกเครื่อง ข้อดีของโมเด็มแบบนี้คือ ติดตั้งได้งาย โดยไม่ต้องเปิดฝาเคส และที่ตัวโมเด็มจะมีหลอดไฟ LED กะพริบบอกสถานการณ์ทำงาน ส่วนข้อเสียก็คือ มีราคาแพงและเกะกะพื้นที่
- มาตรฐานความเร็วที่ใช้ มาตรฐานล่าสุดที่ใช้กันสำหรับ Ana log Modem คือ V.92 ซึ่งมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุกที่ 56 Kbps/33.6 Kbps ส่วน ADSL Modem คือ ADSL2 ซึ่งมีอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดที่ 8 Mbps/1Mbps
การเลือกซื้อเคส และเพาเวอร์ซัพพลาย (Case & Power Supply)
การเลือกซื้อตัวเครื่องเคส (Case)
- พยายามเลือกเคสที่ภายในดูโปร่ง กว้าง และสามารถถ่ายเทอากาศได้ดี มีช่องที่เอาไว้ติดตั้งพัดลมเพิ่มเติมภายหลังได้
- มีการออกแบบฝาเคสที่สามารถปิด/เปิดได้ง่าย
- เพื่อให้สะดวกในการประกบเครื่อง แท่นรองเมนบอร์ดภายในเคสควรถอดออกได้
- ช่องเสียบอุปกรณ์จำพวกไดร์วต่างๆ ควรออกแบบมาอย่างดี
- ฝาเคสด้านหน้าอาจจะปิด/เปิดได้ เพื่อความเรียบร้อย สวยงาม และความสะอาด
- มีพอร์ตต่างๆ เพิ่มเติมมาให้ด้านหน้าหรือด้านข้างของตัวเคส เพื่อความสะดวกในการใช้งาน
- Power Supply ที่ติดตั้งมาด้วยควรมีกำลังไฟที่เพียงพอ
- ตัวเครื่องภายนอกอาจจะออกแบบมาให้มีจับเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย
- พยายามเลือกเคสที่ใช้วัสดุที่ทำมาจากพลาสติก และมีโครงสร้างภายในที่แข็งแรง
- เลือก Power Supply ที่ถูกต้องกับชนิด และความต้องการของเมนบอร์ด
- ถ้าเมนบอร์ดที่ใช้มีขั้วต่อแหล่งจ่ายไฟเป็น 24 พิน ก็ควรเลือกใช้ Power Supply รุ่มใหม่ที่มีแหล่งจ่ายไฟแบบ 24 พิน
- ถ้าเมนบอร์ดที่ใช้มีขั้วต่อ Serial ATA ก็ควรเลือกใช้ Power Supply ที่มีหัวต่อสำหรับจ่ายไฟเลี้ยงให้กับฮาร์ดดิสก์ด้วย
- ในการเลือกซื้อ ให้พิจารณากำลังไฟ (วัตต์) จากจำนวนอุปกรณ์ต่าง ๆดังนั้นจึงแนะนำรุ่นที่ให้กำลังไฟตั้งแต่ 350 วัตต์ ขึ้นไป
การเลือกซื้อ USP
การเลือกซื้อ UPS จะมีในเรื่องของขนาด ซึ่งจะต้องสัมพันธ์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ซึ่งโดยทั่วไปควรจะอยู่ที่ประมาณ 500-800 VA กับประเภทของ UPS ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้แบบ Line Interactive UPS ที่มีราคาถูกและเพียงพอสำหรับระบบไฟฟ้าที่ค่อนข้างเสถียร แต่หากใช้งานคอมพิวเตอร์ในพื้นที่ที่มีระบบไฟฟ้ามีปัญหาบ่อย หรือระดับแรงดันไม่ค่อยคงที่ ควรเลือกใช้ประเภท True-Online และจ่ายไฟได้อย่างน้อย 1KVA โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าใช้งานกับเครื่องที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์
การเลือกซื้อเครื่องพรินเตอร์ (Printer)
หลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อเครื่องพรินเตอร์มีดังนี้
- ประเภทของเครื่องพรินเตอร์และความเหมาะสมกับลักษณะของงานที่จะนำไปใช้ พรินเตอร์ในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทหลัก ๆ คือ
* เครื่องพิมพ์แบบหัวพ่นหมึก (Ink Jet ) นิยมกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากราคาถูก ใช้พิมพ์งานสีได้ดีและพิมพ์งานขาวดำธรรมดาได้รวดเร็วและสวยงาม เหมาะกับงานพิมพ์ที่ต้องการคุณภาพ
* เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ (Laser) เริ่มใช้กันมากขึ้นเพราะราคาถูกลงมาก เหมาะกับงานคุณภาพที่ไม่ต้องพิมพ์สำเนา
* เครื่องพิมพ์เลเซอร์สี (Color Laser ) ภาพที่ได้จากเครื่องพิมพ์ประเภทนี้จะมีสีสันสดใสเหมาะกับงานทั่วไป และมีความเร็วในการพิมพ์สูง
* เครื่องพิมพ์แบบมัลติฟังก์ชั่น ( Multifunction Printer ) กำลังได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่ผู้ใช้งานตามบ้านและสำนักงาน ที่ต้องการเครื่องที่เป็นทุกอย่างในเครื่องเดียว ทั้งการพิมพ์ การสแกน การถ่ายเอกสาร และการรับ-ส่งแฟกซ์ ช่วยลดต้นทุนในการจัดหาเครื่องไม้เครื่องมือทีละอย่าง
การเลือกซื้อเครื่องสแกนเนอร์ (Scanner)
สแกนเนอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการ อ่าน หรือ Scan คือ ถ่ายภาพจากกระดาษหรือวัตถุแบน ๆ เข้าไปในเครื่อง โดยใช้แสงส่องกระทบวัตถุให้สะท้อนไปตกบนตัวรับแสงทีละแถว หลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อเครื่องสแกนเนอร์มีดังนี้
- ความละเอียดในการสแกนภาพ ความละเอียดและจำนวนสีของสแกนเนอร์นั้น จะเริ่มต้นที่ 300x600 จุด ต่อตารางนิ้ว และรุ่นใหม่จะให้ความละเอียดได้มากถึง 1,200 x2,400 จุดต่อตารางนิ้ว และแยกสีได้มากถึง 48 บิตเลยทีเดียว
ที่มา :อนิรุกธิ์ รัชตะวราห์,ภาสกร พาเจริญ หนังสือคู่มือช่างคอม 2009 พิมพ์โดย :บริษัท โปรวิชั่น จำกัด 408/75 ชั้น 17 อาคารพหลโยธินเพลส ถ.พหลโยธิน สามาเสนใน พญาไท กรุงเทพ 10400
วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ชิปเช็ต (Chipset)
ชิปเช็ต (Chipset) เป็นองค์ประกอบสำคัญเพราะถือเป็นหัวใจหลักของระบบที่ใช้ควบคุมการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์ต่าง ๆให้ประสานกันอย่างราบรื่นทั้งซีพียู แคช หน่วยความจำ บัสต่าง ๆตัวควบคุมฮาร์ดดิสก์ และพอร์ตต่าง ๆ ดังนั้นมันจึงเป็นตัวกำหนดชนิดและขีดจำกัดของอุปกรณ์ต่าง ๆเหล่านั้นด้วย ด้วยเหตุนี้ชิปเช็ตจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของทั้งระบบเป็นอย่างมาก
โดยทั่วไปการทำงานของชิปเซ็ตแยกออกได้เป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ความเร็วสูงต่าง ๆ เช่น ซีพียู, หน่วยความจำแคช, แรม และกราฟิกการ์ด ซึ่งชิปเซ็ตส่วนนี้เราเรียกว่า “North Bridge”
ส่วนที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ความเร็วต่ำหรือใช้งานต่อเข้ากับอุปกรณ์ I/Oต่าง ๆ เช่น IDE/FDD/SATA Controller, ชิปเสียง, ชิปเน็ตเวิร์ก, ไบออส, พอร์ตหรือคอนเน็ตเตอร์ต่างๆ (Parallel,Serial,USB,IEEE1394) และช่องสล็อตสำหรับเสียบการ์ดต่างๆ เป็นต้น ชิปเซ็ตในส่วนนี้เราเรียกว่า “South Bridge”
แต่สำหรับชิปเซ็ตของ Intel ตั้งแต่รุ่น i810 เป็นต้นมา ได้ทีการพัฒนานำเอาแนวคิดในการออกแบบใหม่มาใช้ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงหากออกแบบให้ชิปเซ็ตมีตัวประมวลผลภาพและเสียงผนวกเข้าไว้ด้วย รวมถึงการแบ่งหน่วยความจำหลักของระบบไปให้ชิปประมวลผลกราฟิกใช้งานและได้เปลี่ยนจากเดิมที่เคยแบ่งชิปเซ็ต North Bridge และ South Bridge กลายมาเป็นสถาปัตยกรรมแบบฮับเร่งความเร็ว หรือ “Accelerated Hub Architecture” ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนคือ Memory Controller Hub (MCH) หรือถ้าผนวกตัวประมวลผลภาพเข้าไปด้วยเรียก Graphics & Memory Controller Hub (GMCH)กับ I/O Controller Hub (ICH)และ Firmware Hub (FWH) ที่ได้รวมเอาการเชื่อมต่อในรูปแบบและความเร็วต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน ชิปเซ็ต Intel รุ่น P45 Express มีคุณสมบัติที่รองรับการทำงานร่วมกับแพลตฟอร์ม LGA775 จากซีพียู Intel 45 nm แบบ Multi-Core ทำงานด้วยหน่วยประมวลผลแบบใหม่ บนสถาปัตยกรรม Micro-architectures ด้วยความแรง FSB ที่เพิ่มขึ้นเป็น 1333 MHz เพื่อการดูแลด้านความถี่ของแบนด์วิธที่เพิ่มการทำการได้รวดเร็วขึ้นถึง 50% ของการเข้าถึงข้อมูล รองรับหน่วยความจำแรมได้ทั้ง DDR2 และ DDR3 กับขนาดแบนด์วิธที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะ DDR2 ที่รองรับความเร็วได้สูงสุดถึง 800 MHz และ DDR3 ที่รองรับความเร็วได้สูงสุด 1066 MHzรูปแบบการเชื่อมต่อด้วยสล็อตกราฟิกการ์ด PCI-Express 2.0 กับความเร็วขนาด x16 เพียงแค่ 1 สล็อต หรือจะเป็นความเร็วขนาด x8 ที่ให้มาถึง 2 สล็อต
ในส่วนของ AMD เองก็ได้ย้ายตัวควบคุมหน่วยความจำ (Integrated Controller) เข้าไปไว้ภายในตัวซีพียูเลยเพื่อให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และในส่วนของการควบคุมและติดต่อกับอุปกรณ์ต่างๆก็จะใช้ HyperTranspost แทน ชิปเซ็ต AMD รุ่น 790FX (Northbridge) กับ SB600 (Southbridge) ซึ่งมีจุดเด่นคือ รองรับซีพียู 65 nm ในตระกูล Phenom และ Athlon ทั้ง Dual-Core และ Quad-Core สนับสนุนเทคโนโลยี HyperTranspos 3.0 ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 2600 MHz (16-bit)รองรับ DDR2 ความเร็วตั้งแต่ 533/668/800/1066 MHz สนับสนุนบัส PCI-Expressx16 มาตรฐาน 2.0 และสนับสนุนเทคโนโลยี 4-Way CrossFireX ในการเชื่อมต่อการ์ดจอร่วมกันได้มากสุดถึง 4 ตัว
BUS หมายถึง ช่องทางการขนถ่ายข้อมูลจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอุปกรณ์หนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ CPU จะต้องอ่านเอาคำสั่งหรือโปรแกรมจากหน่วยความจำ มาตีความและทำตามคำสั่งนั้นๆ ซึ่งในบางครั้งจะต้องอ่านข้อมูลจากอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อใช้ประกอบในการทำงาน หรือใช้ในการประมวลผลด้วยผลลัพธ์ของการประมวลผล ก็ต้องส่งไปแสดงผลที่ยังจอภาพ หรือเครื่องพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่นๆ
ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์ การส่งถ่ายข้อมูลส่วนมากจะเป็นระหว่างไมโครโปรเซสเซอร์กับอุปกรณ์ภายนอกทั้งหมด โดยผ่านบัส ในไมโครโพรเซสเซอร์ จะมีบัสต่างๆ ดังนี้
บัสข้อมูล
บัสรองรับข้อมูล
บัสควบคุม
ที่มา :อนิรุกธิ์ รัชตะวราห์,ภาสกร พาเจริญ หนังสือคู่มือช่างคอม 2009 พิมพ์โดย :บริษัท โปรวิชั่น จำกัด 408/75 ชั้น 17 อาคารพหลโยธินเพลส ถ.พหลโยธิน สามาเสนใน พญาไท กรุงเทพ 10400
http://kroo.ipst.ac.th/wkv/Bus.html
http://ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/knowledge/Promicrocomputer/Lesson/Lesson2/ch2_1.html
วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
เมนบอร์ด Mian board
เมนบอร์ด Main board
เมนบอร์ด คือ แผงวงจรหลักที่ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทำหน้าที่เป็นกลางทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานร่วมกันได้ และเป็นศูนย์กลางในการต่อเชื่อมอุปกรณ์อื่นไม่ว่าจะเป็น CPU , RAM , HDD, CD-ROM , FDD VGA CARD เป็นต้น เมนบอร์ดแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อจะสนับสนุนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ไม่เหมือนกัน สิ่งที่มีผลต่อการทำงานของเครื่องพีซีนอกจากซีพียูแล้ว ยังรวมถึงโครงสร้างหลักอื่นๆอีก เช่น เมนบอร์ด ที่ประกอบด้วยอุปกรณ์และระบบบัสต่าง ๆที่สำคัญอยู่มากมาย โดยมีความแตกต่างของรูปแบบหรือที่เรียกว่า “ ฟอร์มแฟคเตอร์”
ฟอร์มแฟคเตอร์ ( From Factor )
ฟอร์มแฟคเตอร์ คือ มาตรฐานในการออกแบบโครงสร้างต่าง ๆ บนเมนบอร์ด โดยจะแตกต่างๆทั้งในเรื่องขนาดของตัวเมนบอร์ด,ตำแหน่งในการจัดวางชิ้นส่วนอุปกรณ์และขั้วต่อ (พอร์ต) ต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อการออกแบบเคสหรือตัวเครื่องที่ใช้ด้วย ซึ่งมีใช้ในเครื่องพีซีรุ่นแรกๆของ IBM ต่อมาก็ได้ถูกพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง โดยพอร์ตต่างๆ จะถูกขันน็อตยึดติดไว้กับเครื่องและถูกเชื่อมต่อโดยการใช้สายแพเสียบลงบนขั้วต่อของพอร์ตบนเมนบอร์ด
เมนบอร์ดแบบ ATX
เริ่มแรกเมนบอร์ดแบบนี้จะมีสล็อตแบบ PCI 5-6,AGP 1 สล็อตและช่องสำหรับเสียบหน่วยความจำ RAM จำนวน 4-6 สล็อต แต่ในปัจจุบันเมื่อระบบบัสเปลี่ยนจาก PCI ไปเป็น PCI-Expressx1 ก็จะลดจำนวนสล็อตแบบ PCI เดิมลงเหลือเพียง 2-3 สล็อต และเพิ่มสล็อตแบบ PCI-Expressx1 เข้ามาแทน 1-2 สล็อต ส่วนสล็อตแบบ AGP ก็ถูกเปลี่ยนไปเป็นสล็อตแบบ PCI-Expressx16 โดยอาจจะมีมากกว่า 1 สล็อตก็ได้ เพื่อรองรับการประมวลผลกราฟิก
เมนบอร์ดแบบ Micro ATX
เป็นเมนบอร์ดสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการความประหยัดและกะทัดรัด อุปกรณ์ที่ใช้ส่วนใหญ่ เช่น การ์ดจอ, การ์ดเสียงและการ์ดแลน มักถูกติดตั้งมาให้แล้วบนเมนบอร์ดอยู่ในรูปแบบของชิปออนบอร์ด ( Chip on-board) แต่ในปัจจุบันเมนบอร์ดโดยทั่วไปมักจะสนับสนุนระบบบัสแบบ PCI-Expressx ที่ลดจำนวนสล็อตแบบ PCI เดิมลง และเพิ่มสล็อตแบบ PCI-Expressx1 เข้ามาแทน
เมนบอร์ดแบบ Flex ATX,ITX และเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Barebone
เมนบอร์ดสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก กะทัดรัด ซึ่งจะช่วยประหยัดเนื้อที่บนโต๊ะทำงานได้มาก โดยลดจำนวนสล็อต PCI ลงจนเหลือเพียงแค่ 1-2 สล็อตเท่านั้น และอุปกรณ์แทบทุกอย่าง จะเป็นแบบชิปออนบอร์ดเป็นตัวเครื่องที่มีขนาดเล็กเป็นพิเศษ ละไม่สามารถติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมอะไรได้มากนัก ซึ่งในบางครั้งอาจเรียกเครื่องคอมพิวเตอร์แบบนี้ว่า Mini-PC ก็ได้
ส่วนประกอบต่างๆ ที่สำคัญของเมนบอร์ด
ช่องสำหรับติดตั้งซีพียู ( CPU Socket )
เป็นชิ้นส่วนที่ถูกยึดติดอยู่กับเมนบอร์ดมาจากโรงงาน ใช้เป็นฐานรองรับตัวซีพียู เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าบนเมนบอร์ด ซึ่งมาตรฐานของช็อตเก็ตที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ ถ้าเป็นซีพียู Intel ก็คือแบบ LGA ที่มีลักษณะเป็นขาจำนวนมากยื่นขึ้นมาจากตัวช็อตเก็ตเพื่อรองรับกับตัวซีพียู ถ้าเป็นซีพียูของ AMD ที่ใช้บรรจุภุณฑ์แบบ PGA ที่มีลักษณะเป็นรูจำนวนมากอยู่บนตัวช็อตเก็ต เพื่อรองรับขาที่ยื่นออกมาจากตัวซีพียู
ช่องสำหรับติดตั้งแผงหน่วยความจำ ( Memory Slot )
ลักษณะของแผงหน่วยความจำแรม แต่ละชนิดจะมีขนาดความยาว จำนวนขา และตำแหน่งของร่องบากที่แตกต่างกันออกไป โดยหน่วยความจำที่ใช้กันอยู่ในตอนนี้จะเป็น DDR2 และ DDR3 ที่มีจำนวนขา 240 pin ด้วยกันทั้งคู่แต่มีตำแหน่งของร่องบากไม่ตรงกันทำให้ไม่สามรถใช้แทนกันได้
ชิปเช็ต ( Chipset )
เป็นองค์ประกอบหลักที่มีความสำคัญเพราะถือเป็นหัวใจหลักของระบบที่ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ บนเมนบอร์ด และเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติเกือบทั้งหมดของเมนบอร์ดนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นรุ่นของซีพียูหรือชนิดช็อตเก็ตที่ใช้ ชนิดของหน่วยความจำที่รองรับ ระบบหรือความเร็วของบัสที่สนับสนุน สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประเภทใดได้บ้าง และขยายความสามารถได้มากน้อยเพียงใด เป็นต้น ด้วยเหตุนี้มันจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของทั้งระบบเป็นอย่างมาก
ระบบบัส และช่องสำหรับติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ( Bus & Slot )
บัส (Bus) เป็นเส้นทางเชื่อมต่อที่ใช้รับส่งข้อมูลกันระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งบัสในแต่ละส่วนจะมีความเร็วต่างกัน ตั้งแต่ ซีพียู, หน่วยความจำ, แคช, ฮาร์ดดิสก์, สล็อตต่างๆ และจอภาพ เป็นต้น ดังนั้นความเร็วและประสิทธิภาพในการทำงานของบัส จึงมีผลอย่างมากกับประสิทธิภาพโดยรวมของคอมพิวเตอร์
ระบบบัสและสล็อตของอุปกรณ์จำพวกการ์ดต่าง ๆ มีดังนี้
- PCI ( Peripheral Component Interconnect ) และ PCI-X (PCI Extended)
บัส PCI เป็นระบบที่มีความเร็วค่อนข้างสูง ใช้เชื่อมต่อระหว่างชิปเซ็ตกับอุปกรณ์อื่น ๆที่มีความเร็วรองลงมา เช่น การ์ดหรือชิปเสียง,การ์ดโมเด็ม,การ์ดแลนหรือชิปเน็ตเวิร์ก,การ์ดคอนโทรลเลอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ จำพวกฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
- AGP ( Accelerated Graphic Port )
บัส AGP เป็นพัฒนาการที่ต่อมาจากบัส PCI โดยมีความกว้างของบัสเท่าเดิมคือ 32 บิต(4 ไบต์) แต่ทำงานด้วยความถี่ที่สูงขึ้นคือ 66.6 MHz ทำให้มีอัตราความเร็วในการรับสั่งข้อมูลเท่ากับ 4 ไบต์ ( 32 บิต) x 66.6 MHz = 266 MB/sec ซึ่งคือมาตรฐานเริ่มต้นที่ AGP1X นั่นเอง
ไบออส ( BIOS)
BIOS ( Basic Input/Output System ) เป็นชิปหน่วยความจำที่ถูกติดตั้งเอาไว้อย่างถาวรบนเมนบอร์ดมาจากโรงงาน ภายในบรรจุโปรแกรมหรือชุดคำสั่งขนาดเล็กที่ใช้ควบคุมการทำงานขั้นพื้นฐานในตอนเริ่มต้นการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์เอาไว้ เพื่อตรวจสภาพความพร้อมของอุปกรณ์ต่าง ๆและกระบวนการบู๊ตระบบเป็นต้น ชิปหน่วยความจำที่บรรจุโปรแกรม BIOS มักเป็นชนิด แฟลชรอม ซึ่งสามารถลบหรือการแก้ไขข้อมูลภายในได้ด้วยการใช้โปรแกรมขนาดเล็กที่ทำหน้าที่ลบหรือแก้ไขข้อมูลนี้โดยเฉพาะ
แบตเตอรรี่ไบออส ( BIOS Battery )
เป็นส่วนที่ไม่ค่อยมีใครสนใจ จนกระทั่งเมื่อนาฬิกาของเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มบอกเวลาผิดพลาด ซึ่งเป็นการบอกให้รู้ว่าแบตเตอรี่ไบออสใกล้จะหมดอายุ (ใกล้เสื่อม) แล้ว ปัจจุบันแบตเตอรี่ที่ใช้มักจะเป็นแบบลิเธียม เนื่องจากมีความคงทน และสามารถใช้งานได้นานเป็นปี ๆโดยมีอายุการใช้งานเฉลี่ยประมาณ 3 ปี
ขั้วต่อสายแหล่งจ่ายไฟ ( Power Connector)
เป็นจุกที่ใช้เสียบเข้ากับตัวต่อหลักของสายที่มาจาก Power Supply เพื่อป้อนไฟเลี้ยงให้กับวงจรไฟหลักและส่วนประกอบต่าง ๆที่ถูกติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ด
ขั้วต่อปุ่มสวิทซ์และไฟหน้าเครื่อง ( Front Panel Connector )
เป็นขั้วที่ต่อสัญญาณที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับสายไฟสีต่างๆ ที่โยงมาจากปุ่มสวิทซ์และไฟแสดงสถานะที่อยู่บริเวณด้านหน้าของตัวเครื่อง รวมทั้งลำโพงขนาดเล็กที่ถูกติดตั้งอยู่ภายในตัวเครื่องด้วย มีดังนี้
- ปุ่มสวิทซ์ RESET ( RESET SW) ทำหน้าที่เสมือนปิดเครื่องแล้วเปิดใหม่
- ปุ่มสวิทซ์ POWER (POWER SW ) ใช้ในการเปิดเครื่อง
- หลอดไฟ POWER (POWER LED ) เป็นหลอดไฟสีเขียวที่อยู่หน้าเครื่องใช้แสดงสถานะว่าเครื่องกำลังทำงานอยู่
- หลอดไฟ HARDDISK (H.D.D. LED) เป็นหลอดไฟสีแดงใช้แสดงสถานะของฮาร์ดดิสก์และซีดี/ดีวีดีไดรว์ในขณะที่ทำงานอยู่
- ลำโพง (SPEAKER) เป็นลำโพงขนาดเล็กใช้เพื่อแสดงสถานะเริ่มต้นการทำงานของเครื่อง
จัมเปอร์สำหรับกำหนดการทำงานของเมนบอร์ด
ในอดีตการกำหนดค่าความเร็วของบัสและกำหนดค่าตัวคูณของซีพียูจะกระทำผ่านทางจัมเปอร์บนเมนบอร์ด แต่ในปัจจุบันการกำหนดค่าเหล่านี้มักจะกระทำผ่านทางไบออสเป็นหลัก ส่วนใหญ่ไม่สามารถปรับตัวคูณของซีพียูได้และเนื่องจากผู้ผลิตมักจะล็อตค่าตัวคูณเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้เข้าปรับแต่งจนอาจทำให้ซีพียูทำงานผิดพลาด ดังนั้นในปัจจุบันจัมเปอร์ต่างๆ ดังที่กล่าวมาแทบจะไม่มีอยู่บนเมนบอร์ดแล้ว
พอร์ตควบคุมอุปกรณ์ IDE (IDE Controller Port )
เป็นขั้วบนเมนบอร์ดที่มีจำนวนสัญญาณทั้งสิ้น 40 ขา ใช้เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่มีอินเตอร์เฟสแบบ IDE หรือ EIDE หรืออาจเรียกว่า AIA ก็ได้ โดย 1ขั้ว ต่ออุปกรณ์ดังกล่าวได้ 2 ตัว การต่ออุปกรณ์จะใช้สายแพ ( Ribbon Cable ) แบบ 40 หรือ 80 เส้นเชื่อมระหว่างคอนโทรลหรือขั้วต่อ IDE บนเมนบอร์ดกับตัวอุปกรณ์จำพวกฮาร์ดดิสก์ ซีดี/ดีวีดีไดรว์
พอร์ตควบคุมอุปกรณ์ Serial ATA (SATA)
เป็นขั้วต่อหรือพอร์ตบนเมนบอร์ดที่มีจำนวนขาสัญญาณทั้งสิ้น 7 ขา ใช้เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นมาตรฐานใหม่ที่ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมเพราะติดตั้งได้ง่ายและมีอัตราความเร็วสูง มีการรับส่งข้อมูลในแบบขนาน (Parallel) มาตรฐานปัจจุบันสำหรับ SATA-II (300 MB/s) หรืออาจสูงถึง 6 Gbps หรือ 600 MB/s ได้ในอนาคต
พอร์ตควบคุมอุปกรณ์ Floppy Disk Drive (FDD/FDC Controller Port )
เป็นขั้วต่อบนเมนบอร์ดที่มีจำนวนขาสัญญาณทั้งสิ้น 34 ขา ใช้เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ได้มากสุด 2 ตัว โดยอุปกรณ์ทั้งสองจะถูกแยกสถานการณ์ทำงานด้วยการพลิกไขว้สายแพกลุ่มหนึ่งไว้
พอร์ตอนุกรม และพอร์ตขนาน (Serial & Parallel Port )
บนเมนบอร์ดรุ่นเก่าๆมักจะมีพอร์ตอนุกรมมาให้ 1-2 พอร์ต กับพอร์ตขนาน 1 พอร์ต แต่ปัจจุบันบนเมนบอร์ดรุ่นใหม่ มักจะไม่มีพอร์ตอนุกรมมาให้แต่พอร์ตขนานยังคงอยู่บ้าง โดยส่วนใหญ่จะถูกเปลี่ยนใช้พอร์ต USB แทบทั้งสิ้น
พอร์ตคีย์บอร์ด และเมาส์ (PS/2 Port )
เป็นพอร์ตแบบพีเอสทู (PS/2) ตัวเมีย (มีแต่รู ไม่มีขา) ที่อยู่บนเมนบอร์ดมีจำนวนรูเสียบทั้งสิ้น 6 รู โดนพอร์ตที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์คีย์บอร์ดจะเป็นสีม่วงและพอร์ตที่เชื่อมต่อเมาส์จะมีสีเขียว แต่ปัจจุบันอุปกรณ์ทั้งสองจะมีให้เลือกทั้งแบบที่ใช้พอร์ต PS/2 และ USB
พอร์ตยูเอสบี (USB Port )
เป็นพอร์ตที่ใช้เชื่อมเข้ากับอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆที่มีหัวต่อแบบUSB ซึ่งโดยทั่วไปพอร์ตนี้มักจะถูกติดตั้งมาให้ไม่น้อยกว่า 2 พอร์ต ปัจจุบันบนเมนบอร์ดทั่วไปใช้มาตรฐาน USB 2.0 นี่กันหมดแล้วแต่ในอนาคตมาตรฐาน USB 3.0 สำหรับหัวต่อยูเอสบีที่ใช้โดยทั่วไปจะมี 2 แบบคือ
- หัวต่อและช่องเชื่อมต่อพอร์ต USB ชนิด A ใช้ต่อเข้ากับช่องเชื่อมต่อพอร์ต USB ชนิด A ที่อยู่ด้านหน้าและหลังคอมพิวเตอร์
- หัวต่อและช่องเชื่อมต่อพอร์ต USB ชนิด B ใช้ต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทพรินเตอร์และสแกนเนอร์ เป็นต้น
พอร์ตไฟร์ไวร์ (Firewe หรือ IEEE 1394)
เป็นพอร์ตอีกชนิดหนึ่งที่ปัจจุบันพบเห็นได้ทั่วไป ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงแบบต่าง ๆที่มีพอร์ตแบบ Firewire ซึ่งต้องการอัตราความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูง ๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้อินเตอร์เฟสแบบ Firewire และกล้องดิจิตอล เป็นต้น โดยทั่วไปพอร์ตแบบนี้มักจะถูกติดตั้งมาให้อย่างน้อย 1 พอร์ตอยู่แล้วบนเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ
คุณสมบัติล่าสุดของเมนบอร์ด
ด้วยขีดความสามารถที่สูงขึ้นของชิปเซ็ตรุ่นใหม่ๆ ทำให้เมนบอร์ดในปัจจุบันมีคุณสมบัติพื้นฐานที่เพียบพร้อมในการทำงานด้วยประสิทธิภาพสูง ทำให้ผู้ผลิตเมนบอร์ดยังต้องไปแข่งขันกันที่รายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และซอต์ฟแวร์ดังต่อไปนี้
External SATA และ SATA RAID ชุดที่สอง
โดยการสร้างชิปเล็กๆอีก1ตัว ทำให้เมนบอร์ดมีช่อง SATA เพิ่มขึ้นได้ รวมทั้งการเชื่อมต่อแบบภายนอกที่เรียกว่า eSATA
วงจรจ่ายไฟที่เสถียร
ด้วยเหตุที่ซีพียู,แรม และการ์ดจอมีความเร็วสูงขึ้น ทำให้การใช้พลังไฟฟ้ามากขึ้น แหล่งจ่ายไฟที่ดีจึงมีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งก็ทำได้โดยเพิ่มชุดรักษาระดับความดันไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น เช่น 4 หรือ 8 เฟส
ตัวเก็บประจุ
ตัวเก็บประจุก็ความสำคัญ โดยมากเมนบอร์ดที่เสียหรือรวนเกิดจากตัวเก็บประจุเสื่อม ทำให้รักษาระดับแรงดันได้ไม่ดีปัจจุบันจึงได้มีการนำตัวเก็บประจุดีๆมาใช้ซึ่งสังเกตได้จากตัวประจุเป็นโลหะนั่นเอง
การใช้ Heat Pipe
Heat Pipe หมายถึงท่อนำความร้อน ซึ่งเป็นการใช้ท่อโลหะทองแดงนำความร้อนของชิปเซ็ตให้กระจายไปทั่วเมนบอร์ดและมีครีมระบายความร้อนอยู่รอบๆ ซีพียู
การแก้ไขปัญหา BIOSที่เสียหาย
ปัญหาระหว่างการอัพเดต BIOS ทำให้เมนบอร์ดไม่สามารถทำงานได้ แต่เมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆจะเพิ่มโปรแกรมที่ช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยอ่านไฟล์จากแผ่นดิสก์ ซีดีรอมหรือกระทั่ง USB Flash Drive เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ลดการใช้พลังงาน
การเพิ่มซอต์ฟแวร์ไว้ให้ติดตั้งเข้ามาเพื่อรองรับระดับการใช้พลังงานของซีพียู เพื่อให้ประหยัดไฟฟ้าและลดความร้อน
ที่มา :อนิรุกธิ์ รัชตะวราห์,ภาสกร พาเจริญ หนังสือคู่มือช่างคอม 2009 พิมพ์โดย :บริษัท โปรวิชั่น จำกัด 408/75 ชั้น 17 อาคารพหลโยธินเพลส ถ.พหลโยธิน สามาเสนใน พญาไท กรุงเทพ 10400
วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
แรม (RAM)
หน่วยความจำ (Memory) เป็นส่วนประกอบสำคัญในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องคอยทำงานร่วมกับซีพียูอยู่อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา ทำหน้าที่จัดเก็บหรือบันทึกข้อมูล/คำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้ในการประมวลผล ทดเลขในการคำนวณ เป็นที่พักข้อมูลชั่วคราวเพื่อรอส่งให้กับซีพียูนำไปประมวลผลและอื่นๆ โดยเราสามารถจำแนกออกตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภทคือ หน่วยความจำหลัก และหน่วยความจำสำรอง
หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ต้องทำงานร่วมกับซีพียูอยู่อย่างใกล้ชิดตลอดเวลาบนเมนบอร์ด ซึ่งสามารถแบ่งออกตามสภาพการใช้งานได้ 2 ชนิด ดังนี้
- หน่วยความจำถาวร หรือ ROM (Read-Only Memory) ในยุคแรก ๆ จะเป็นพวกที่บันทึกข้อมูลเอาไว้ตายตัวแก้ไขไม่ได้ และข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ยังคงอยู่แม้ไม่มีกระแสไฟฟ้า แต่ปัจจุบันROM ได้ถูกพัฒนาให้สามารถลบหรือแก้ไขข้อมูลที่อยู่ภายใน รวมทั้งบันทึกข้อมูลเข้าไปใหม่ได้ไม่ยากโดยใช้โปรแกรมขนาดเล็กที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะ
- หน่วยความจำชั่วคราว หรือ RAM ( Random Access Memory ) จะคอยทำงานร่วมกับซีพียูอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา โดยทำหน้าที่เสมือนเป็นสมุดบันทึกเล่มใหญ่ที่ซีพียูใช้ทำงาน แต่หากปิดเครื่องหรือไฟฟ้าเกิดดับขึ้นมา ข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกเก็บไว้จะถูกลบทิ้งหรือสูญหายไปหมด
หน่วยความจำสำรอง ( Secondary Memory )
คือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับจัดเก็บหรือสำรองข้อมูลเก็บไว้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา เช่น ฮาร์ดดิสก์ ,แผ่น CD/DVD,USB Flash Drive เป็นต้น
ประเภทของแรม
โดยทั่วไปสามรถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
Static RAM (SRAM) ทำจากวงจรที่ใช้การเก็บข้อมูลด้วยสถานะ “มีไฟ” กีบ “ไม่มีไฟ” ซึ่งจะเก็บข้อมูลไว้ได้ตลอดเวลาตราบใดที่ยังมีกระแสไฟฟ้าเลี้ยงวงจรอยู่ นิยมนำไปใช้ทำเป็นหน่วยความจำแคช (Cache) ภายในตัวซีพียู เพราะมีความเร็วในการทำงานสูงกว่า DRAM มาก แต่ไม่สามารถทำให้มีขนาดความจุสูงๆได้ เนื่องจากมีราคาแพงและกินกระแสไฟฟ้ามากจนทำให้เกิดความร้อนสูง อีกทั้งวงจรก็ยังมีขนาดใหญ่กว่าด้วย
Dynamic RAM (DRAM) ทำจากวงจรที่ใช้การเก็บข้อมูลด้วยสถานะ “มีประจุ” กับ “ไม่มีประจุ” ซึ่งวิธีนี้จะใช้ไฟน้อยกว่า SRAM มาก แต่โดยธรรมชาติแล้วประจุไฟฟ้าจะมีการรั่วไหลออกไปเรื่อยๆ ดังนั้นเพื่อให้ DRAM สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ตลอดเวลาตราบเท่าที่ยังมีกระแสไฟคอยเลี้ยงวงจรอยู่ จึงต้องมีวงจรอีกส่วนหนึ่งที่คอยทำหน้าที่ “เติมประจุ”ไฟฟ้าให้เป็นระยะๆ ซึ่งกระบวนการเติมประจุไฟฟ้านี้เราเรียกว่า รีเฟรช (Refreah) โดยหน่วยความจำประเภท DRAM นี้ นิยมนำเอาไปใช้ทำเป็นหน่วยความจำหลักของระบบในรูปแบบของชิปไอซี (Integreted Circuit) บนแผงโมดูลของ RAM เป็นต้น ซึ่งสามารถออกแบบให้มีขนาดความสูงๆได้ ราคาถูก กินไฟน้อย และไม่ทำให้เกิดความร้อนสูง
ข้อเปรียบเทียบระหว่าง SRAM และ DRAM
SRAM
1.เก็บข้อมูลด้วยสถานะ “มีไฟ” กีบ “ไม่มีไฟ”
2.นิยมนำไปใช้ทำเป็นหน่วยความจำแคช (Cache)
3.มีราคาแพง
4.กินกระแสไฟฟ้ามากจนทำให้เกิดความร้อนสูง
DRAM
1.เก็บข้อมูลด้วยสถานะ “มีประจุ” กับ “ไม่มีประจุ”
2.นิยมนำเอาไปใช้ทำเป็นหน่วยความจำหลักของระบบในรูปแบบของชิปไอซี
บนแผงโมดูลของ RAM
3.มีราคาถูก
4.กินไฟน้อยไม่ทำให้เกิดความร้อนสูง
ชนิดของแรมหรือ DRAM
DRAM ที่นำมาใช้ทำเป็นแผงหน่วยความจำหลักของระบบชนิดต่างๆ ที่ใช้กันอยู่ในตอนนี้ มีเทคโนโลยีพื้นฐานในการทำงานแบบเดียวกันคือ เป็นแบบ Synchronous แต่ได้มีการพัฒนาให้มีความเร็วสูงขึ้นเรื่อย ๆ ดังนี้
SDRAM (Synchronous RAM ) ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์ (Package) แบบ TSOP (Thin Small Outline Package ) ติดตั้งบนแผงโมดูลแบบ DIMM (Dual Inline Memory Module) มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 2 ร่องและมีขาทั้งสิ้น 168 ขา (168 pin) ใช้แรงดันไฟ 3.3 โวล์ ความเร็วบัสมีทั้ง 66 MHz,100 MHz และ 133 MHz แต่ถูกเลิกใช้ไปเมื่อหมดยุคของ Pentium III
DDR SDRAM (Double Data Rata SDRAM) ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ TSOP ติดตั้งบนแผงโมดูลแบบ DIMM มีความยาวของแผงเท่ากันคือ 5.25 นิ้ว บนแผงโมดูลจะมีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 184 ขา (184 pin) ใช้แรงดันไฟ 2.5 โวล์ มีความจุสูงสุด 1 GB ต่อแผง ความเร็วบัส มีให้เลือกใช้ตั้งแต่ 133 MHz (DDR-226) ไปจนถึง 350 MHz (DDR-700) ปัจจุบันหมดความนิยมไปแล้ว
DDR2 SDRAM เป็นหน่วยความจำที่ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ FBGA (Fine-Pitch Ball Grid Array) ที่มีความต้านทานไฟฟ้าต่ำกว่าแบบ TSOP มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1 ร่อง และมีจำนวนขา 240 ขา (240 pin) ใช้แรงดันไฟเพียง 1.8 โวล์ รองรับความจุได้มากถึง 4 GB ความเร็วบัสตั้งแต่ 200 MHz (DDR2-400) ไปจนถึง 533 MHz (DDR2-1066)
DDR3 SDRAM เป็นหน่วยความจำล่าสุดที่เข้ามาแทน DDR2 มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1 ร่อง มีจำนวนขา 240 ขา (240 pin ) รองรับความจุสูงสุดได้มากถึง 16 GB ความเร็วบัสที่ 800 MHz หรือคิดเป็นความเร็วบัสที่ 1600 MHz ในรุ่น DDR3-800 หรือ PC3-6400 จนถึง 800 MHz หรือ ความเร็วบัสที่ 1600 MHz ในรุ่น DDR3-1600 หรือ PC3-12800
วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ประวัติของ CPU Intel
อินเทล (Inter Corporation) เป็นบริษัทผู้ผลิตซีพียูที่เก่าแก่และพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ซีพียู 8086, 8088 และซีพียูในตระกูล 80x86 เรื่อยมา จนถึง Celeron Pentium II และ III ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยนั้น ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ยุค Celeron II ,Pentium 4 และ Pentium 4 Extreme Editionที่ได้รับการตอบรับจากผู้ใช้อย่างกว้างขวางเรื่อยมา
ซีพียูรุ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของบริษัทอินเทล (Inter) มีดังนี้
ซีพียูรุ่นเก่า
ตระกูล 80x86 เป็นซีพียูรุ่นแรก ซึ่งปัจจุบันไม่ใช้กันแล้ว
Pentium เป็นซีพียูที่เปลี่ยนไปใช้วิธีตั้งชื่อเรียกว่า Pentium แทนตัวเลขแบบเดิม
Pentium MMX เป็นซีพียูที่ได้มีการนำเอาคำสั่ง MMX (MultiMedia eXtension) มาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางด้านมัลติมีเดีย
Pentium Pro เป็นซีพียูรุ่นแรกของตระกูล P6 ซีพียูรุ่นนี้ใช้กับชิปเซ็ตรุ่น 440 FX และได้รับความนิยมในเครื่องเซิร์ฟเวอร์เป็นอย่างมากใสมัยนั้น
Pentium II เป็นการนำซีพียู Pentium Pro มาปรับปรุงโดยเพิ่มชุดคำสั่ง MMX เข้าไป และเปลี่ยนไปใช้บรรจุภัณฑ์แบบตลับ ซึ่งใช้เสียบลงใน Slot 1 โดยมร L2 Cache ขนาด 512 ME ที่มีความเร็วเพียงครึ่งเดียวของความเร็วซีพียู
Celeron เป็นการนำเอา Pentium II มาลดองค์ประกอบ โดยยุคแรกได้ตัด L2 Cache ออกมาเพื่อให้มีราคาถูกลง
Pentium III เป็นซีพียูที่ใช้ชื่อรหัสว่า Katmai ซึ่งถูกเพิ่มเติมชุดคำสั่ง SSE เข้าไป
Celeron II รุ่นแรกเป็นการนำเอา Pentium III ( Coppermine และ Tualatin) มาลด L2 Cache ลงเหลือเพียง 128 KB และ 256 KB ตามลำดับ
ซีพียู Celeron D และ Celeron Dual-Core
Celeron รุ่นล่าสุดใช้ชื่อว่า Celeron D ที่ยังคงเป็นซีพียูราคาประหยัดสำหรับผู้ที่ต้องการคอมพิวเตอร์ใหม่ราคาไม่แพง เพื่อนำไปใช้งานทั่วๆไปโดยรุ่นต่างๆที่ออกมาดังนี้
Celeron D (presscott-90 nm) มีความเร็วสูงสุดในปัจจุบันอยู่ที่ 3.33 GHz ในรุ่น 355 ทำงานด้วย FSB 533 MHz ค่า TOD สูงสุด 84 W
Celeron D (Cedar Mill-65 nm) มีความเร็วสุงสุดปัจจุบันอยุ่ที่ 3.6GHz ทำงานด้วย FSB 533 MHz ค่า TOD สูงสุด 65 W
Celeron Dual-Core (Allendale-65 nm ) มีความเร็วสูงสุดปัจจุบันอยู่ที่ 2.0 GHz ในรุ่น E1400 มี L2 Cache ขนาด 512 KB ทำงานด้วย FSB 800 MHz ค่า TDP สูงสุด 65 W
Celeron Dual-Core (Merom 2M-65 nm) สำหรับ Note book มีความเร็วสูงสุดปัจจุบันอยู่ที่ 1086GHz ในรุ่น T1500 มี L2 Cache ขนาด 512 KB ทำงานด้วย FSB 533 MHz ค่า TDP สูงสุด 35 W
ซีพียูมนตระกูล Pentium 4 ได้ถูกเพิ่มเติมเทคโนโลยี Hyper-Threading (HT) เข้าไปเพื่อช่วยให้สามารถประมวลผลเธรดหรือชุดคำสั่งย่อยต่างๆไปพร้อมๆกันได้เสมือนมีซีพียู 2 ตัวช่วยกันทำงาน ซึ่งทำให้เพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานหลายๆอย่างพร้อมกันได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
- Pentium 4 HT (Nothwood-130 nm )
- Pentium 4 HT (Prescott-90 nm )
- Pentium 4 HT (Cedar Mill-65 nm)
ซีพียู Pentium 4 Extreme Edition
Pentium 4 Extreme Edition (Gallatin-130 nm) มีความเร็ว 3.4 GHz มี L2 Cache ขนาด 512 KBค่า TDP สูงสุด 110 W
Pentium 4 Extreme Edition (Prescott 2 M-90 nm ) มีความเร็ว 3.73 GHz ทำงานด้วย FSB 1066 MHz ค่า TDP สูงสุด 115 W
ซีพียู Pentium D
นับเป็นก้าวแรกสู่ยุค Dual& Muti-Core ของ Intel โดย Pentium D ถูกออกมา เพื่อการทำงานที่ต้องการ Multitasking สูงๆ หรือสามารถทำงานกับแอพพลิเคชั่นได้หลายตัวพร้อมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
- Pentium D ( Smithfield-90nm)
- Pentium D (Presler-65 nm)
ซีพียู Pentium Dual-Core
Pentium Dual-Core (Allendale-65 nm) มีความเร็วสูงสุดปัจจุบันอยู่ที่ 2.4 GHz ในรุ่น E2220 ทำงานด้วย FSB 800 MHz มี L2 Cache ขนาด 1 MB ค่า TDP สูงสุด 65 W
Pentium Dual-Core (Wolfdale 2M-45 nm) มีความเร็วสูงสุดปัจจุบันอยู่ที่ 2.5 GHz ในรุ่น E2220 ทำงานด้วย FSB 800 MHz มี L2 Cache ขนาด 2 MB ค่า TDP สูงสุด 65 W
Pentium Dual-Core (Yonah-65 nm) สำหรับ Note book มีความเร็วสูงสุด 1.86 GHz ในรุ่น T2130 ทำงานด้วย FSB 533 MHz มี L2 Cache ขนาด 1 MB ค่า TDP สูงสุด 31 W
Pentium Dual-Core (Morom 2M-65 nm) สำหรับ Note book มีความเร็วสูงสุด 2.0 GHz ในรุ่น T24100 ทำงานด้วย FSB 533 MHz มี L2 Cache ขนาด 1 MB ค่า TDP สูงสุด 35 W
ซีพียู Pentium Extreme Edition
เป็น Dual-Core ภายใต้แบรนด์ Pentium ในตระกูล Extreme Edition ที่ถูกออกแบบมาสำหรับคอมพิวเตอร์ระดับ Hi- End สมรรถนะสูง เหมาะกับการสร้างสรรค์สื่อบันเทิงต่างๆอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งการประมวลผลภาพวิดีโอ และระบบเสียงแบบ High Definition ทั้งงานด้านการออกแบบและเกมส์ต่าง ๆ ได้แก่
- Pentium Extreme Edition (Smithfield-90 nm )
- Pentium Extreme Edition (Presler-65 nm )
ซีพียู Core 2 Duo
Core 2 Duo (Allendale-65 nm) มีความเร็วสูงสุด 2.6 GHz ในรุ่น E4700 ทำงานด้วย FSB 800 MHz มี L2 Cache ขนาด 2 MB ค่า TDP สูงสุด 65 W
Core 2 Duo (Conroe-65 nm) มีความเร็วสูงสุด 3.0 GHz ในรุ่น E6850 ทำงานด้วย FSB 1066 และ 1333 MHz มี L2 Cache ขนาด 4 MB ค่า TDP สูงสุด 65 W
Core 2 Duo (Wolfdale 3M-45 nm) มีความเร็วสูงสุด 2.8 GHz ในรุ่น E7400 ทำงานด้วย FSB 1066 MHz มี L2 Cache ขนาด 3 MB ค่า TDP สูงสุด 65 W
Core 2 Duo (Wolfdale -45 nm) มีความเร็วสูงสุด 3.3 GHz ในรุ่น E8600 ทำงานด้วย FSB 1333 MHz มี L2 Cache ขนาด 6 MB ค่า TDP สูงสุด 65 W
ซีพียู Core 2 Extreme (Dual-Core)
Core 2 Extreme (Conroe XE-65 nm ) มีความเร็วสูงสุด 2.93GHz ในรุ่น X6800 ทำงานด้วย FSB 1066 MHz มี L2 Cache ขนาด 4 MB ค่า TDP สูงสุด 75 W
ซีพียู Core 2 Quad
Core 2 Quad (Kentsfield-65 nm ) มีความเร็วสูงสุด 2.66 GHz ในรุ่น Q6700 ทำงานด้วย FSB 1066 MHz มี L2 Cache ขนาด 8 MB ค่า TDP สูงสุด 95 W
Core 2 Quad (Yorkfield 4M-45 nm ) มีความเร็วสูงสุด 2.33 GHz ในรุ่น LGA775 ทำงานด้วย FSB 1033 MHz มี L2 Cache ขนาด 4 MB ค่า TDP สูงสุด 95 W
Core 2 Quad (Yorkfield 6 M-45 nm ) มีความเร็วสูงสุด 2.5 GHz ในรุ่น Q9400 ทำงานด้วย FSB 1033 MHz มี L2 Cache ขนาด 6 MB ค่า TDP สูงสุด 95 W
Core 2 Quad (Yorkfield -45 nm ) มีความเร็วสูงสุด 3.0 GHz ในรุ่น Q9650 ทำงานด้วย FSB 1033 MHz มี L2 Cache ขนาด 12 MB ค่า TDP สูงสุด 95 W
ซีพียู Core 2 Extreme (Quad-Core)
Core 2 Extreme (Conroe XE-65 nm) มีความเร็วสูงสุด 3.0 GHz ในรุ่น QX6850 ทำงานด้วย FSB 1066 MHz มี L2 Cache ขนาด 8 MB ค่า TDP สูงสุด 130 W
Core 2 Extreme (Yorkfield XE-45 nm) มีความเร็วสูงสุด 3.2 GHz ในรุ่น QX9775ทำงานด้วย FSB 1600MHz มี L2 Cache ขนาด 12 MB ค่า TDP สูงสุด 150 W
ซีพียู Core i7
เป็นซีพียูภายใต้แบรนด์ใหม่ในชื่อ Core i7 ที่ใช้รหัสการผลิตว่า Nehalem หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมแบบใหม่ด้วยโครงสร้างทั้งภายในและภายนอกที่ได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปมาก เช่น การย้ายเอาส่วนควบคุมหน่วยความจำ เป็นต้น
ซีพียู Core i7 Extreme
Core i7 Extreme (Bloomfield-45 nm) มีความเร็วสูงสุด 3.2 GHz ในรุ่น LGA1366ทำงานด้วย FSB 800/1066/1333/1600MHz มี L2 Cache ขนาด 8 MB ค่า TDP สูงสุด 130 W