วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ชิปเช็ต (Chipset)




ชิปเช็ต (Chipset)















ชิปเช็ต (Chipset) เป็นองค์ประกอบสำคัญเพราะถือเป็นหัวใจหลักของระบบที่ใช้ควบคุมการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์ต่าง ๆให้ประสานกันอย่างราบรื่นทั้งซีพียู แคช หน่วยความจำ บัสต่าง ๆตัวควบคุมฮาร์ดดิสก์ และพอร์ตต่าง ๆ ดังนั้นมันจึงเป็นตัวกำหนดชนิดและขีดจำกัดของอุปกรณ์ต่าง ๆเหล่านั้นด้วย ด้วยเหตุนี้ชิปเช็ตจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของทั้งระบบเป็นอย่างมาก
โดยทั่วไปการทำงานของชิปเซ็ตแยกออกได้เป็น 2 ส่วน คือ

ส่วนที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ความเร็วสูงต่าง ๆ เช่น ซีพียู, หน่วยความจำแคช, แรม และกราฟิกการ์ด ซึ่งชิปเซ็ตส่วนนี้เราเรียกว่า “North Bridge”

ส่วนที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ความเร็วต่ำหรือใช้งานต่อเข้ากับอุปกรณ์ I/Oต่าง ๆ เช่น IDE/FDD/SATA Controller, ชิปเสียง, ชิปเน็ตเวิร์ก, ไบออส, พอร์ตหรือคอนเน็ตเตอร์ต่างๆ (Parallel,Serial,USB,IEEE1394) และช่องสล็อตสำหรับเสียบการ์ดต่างๆ เป็นต้น ชิปเซ็ตในส่วนนี้เราเรียกว่า “South Bridge”

แต่สำหรับชิปเซ็ตของ Intel ตั้งแต่รุ่น i810 เป็นต้นมา ได้ทีการพัฒนานำเอาแนวคิดในการออกแบบใหม่มาใช้ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงหากออกแบบให้ชิปเซ็ตมีตัวประมวลผลภาพและเสียงผนวกเข้าไว้ด้วย รวมถึงการแบ่งหน่วยความจำหลักของระบบไปให้ชิปประมวลผลกราฟิกใช้งานและได้เปลี่ยนจากเดิมที่เคยแบ่งชิปเซ็ต North Bridge และ South Bridge กลายมาเป็นสถาปัตยกรรมแบบฮับเร่งความเร็ว หรือ “Accelerated Hub Architecture” ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนคือ Memory Controller Hub (MCH) หรือถ้าผนวกตัวประมวลผลภาพเข้าไปด้วยเรียก Graphics & Memory Controller Hub (GMCH)กับ I/O Controller Hub (ICH)และ Firmware Hub (FWH) ที่ได้รวมเอาการเชื่อมต่อในรูปแบบและความเร็วต่างๆเข้าไว้ด้วยกัน ชิปเซ็ต Intel รุ่น P45 Express มีคุณสมบัติที่รองรับการทำงานร่วมกับแพลตฟอร์ม LGA775 จากซีพียู Intel 45 nm แบบ Multi-Core ทำงานด้วยหน่วยประมวลผลแบบใหม่ บนสถาปัตยกรรม Micro-architectures ด้วยความแรง FSB ที่เพิ่มขึ้นเป็น 1333 MHz เพื่อการดูแลด้านความถี่ของแบนด์วิธที่เพิ่มการทำการได้รวดเร็วขึ้นถึง 50% ของการเข้าถึงข้อมูล รองรับหน่วยความจำแรมได้ทั้ง DDR2 และ DDR3 กับขนาดแบนด์วิธที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะ DDR2 ที่รองรับความเร็วได้สูงสุดถึง 800 MHz และ DDR3 ที่รองรับความเร็วได้สูงสุด 1066 MHzรูปแบบการเชื่อมต่อด้วยสล็อตกราฟิกการ์ด PCI-Express 2.0 กับความเร็วขนาด x16 เพียงแค่ 1 สล็อต หรือจะเป็นความเร็วขนาด x8 ที่ให้มาถึง 2 สล็อต

ในส่วนของ AMD เองก็ได้ย้ายตัวควบคุมหน่วยความจำ (Integrated Controller) เข้าไปไว้ภายในตัวซีพียูเลยเพื่อให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และในส่วนของการควบคุมและติดต่อกับอุปกรณ์ต่างๆก็จะใช้ HyperTranspost แทน ชิปเซ็ต AMD รุ่น 790FX (Northbridge) กับ SB600 (Southbridge) ซึ่งมีจุดเด่นคือ รองรับซีพียู 65 nm ในตระกูล Phenom และ Athlon ทั้ง Dual-Core และ Quad-Core สนับสนุนเทคโนโลยี HyperTranspos 3.0 ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 2600 MHz (16-bit)รองรับ DDR2 ความเร็วตั้งแต่ 533/668/800/1066 MHz สนับสนุนบัส PCI-Expressx16 มาตรฐาน 2.0 และสนับสนุนเทคโนโลยี 4-Way CrossFireX ในการเชื่อมต่อการ์ดจอร่วมกันได้มากสุดถึง 4 ตัว

BUS
BUS หมายถึง ช่องทางการขนถ่ายข้อมูลจากอุปกรณ์หนึ่งไปยังอุปกรณ์หนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ CPU จะต้องอ่านเอาคำสั่งหรือโปรแกรมจากหน่วยความจำ มาตีความและทำตามคำสั่งนั้นๆ ซึ่งในบางครั้งจะต้องอ่านข้อมูลจากอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อใช้ประกอบในการทำงาน หรือใช้ในการประมวลผลด้วยผลลัพธ์ของการประมวลผล ก็ต้องส่งไปแสดงผลที่ยังจอภาพ หรือเครื่องพิมพ์หรืออุปกรณ์อื่นๆ
การทำงานของบัสในเครื่องพีซี
ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์ การส่งถ่ายข้อมูลส่วนมากจะเป็นระหว่างไมโครโปรเซสเซอร์กับอุปกรณ์ภายนอกทั้งหมด โดยผ่านบัส ในไมโครโพรเซสเซอร์ จะมีบัสต่างๆ ดังนี้
บัสข้อมูล
(DATA BUS) คือบัสที่ ไมโครโพรเซสเซอร์ (ซีพียู) ใช้เป็นเส้นทางผ่านในการควบคุมการส่งถ่ายข้อมูลจากตัวซีพียูไปยังอุปกรณ์ภายนอก หรือรับข้อมูลจากอุปกรณ์ภายนอกเพื่อทำการประมวลผลที่ซีพียู
บัสรองรับข้อมูล
( ADDRESS BUS) คือบัสที่ตัวซีพียู เลือกว่าจะส่งข้อมูลหรือรับข้อมูลจากอุปกรณ์ไหนไปที่ใด โดยจะต้องส่งสัญญาณเลือกออกมาทางแอดเดรสบัส
บัสควบคุม
(CONTROL BUS) เป็นบัสที่รับสัญญาณการควบคุมจากตัวซีพียูโดยบัสควบคุมเพื่อบังคับว่าจะอ่านข้อมูลเข้ามา หรือจะส่งข้อมูลออกไปจากตัวซีพียู โดยระบบภายนอกจะตอบรับต่อสัญญาณควบคุมนั้น ไมโครโพรเซสเซอร์ไม่ใช่จะควบคุมการทำงานของบัสทั้งหมด บางกรณีในการส่งถ่ายข้อมูลภายนอกด้วยกันเอง ผ่านบัสได้เป็นกรณีพิเศษเหมือนกัน เช่นการอ่านข้อมูลจากหน่วยความจำสำรองขนาดใหญ่สามารถส่งผ่านข้อมูลมายังหน่วยความหลักได้โดยผ่านไมโครโพรเซสเซอร์เลย ก็โดยการใช้ขบวนการที่เรียกว่าขบวนการ DMA (DIRECT MEMORY ACCESS)


ที่มา :อนิรุกธิ์ รัชตะวราห์,ภาสกร พาเจริญ หนังสือคู่มือช่างคอม 2009 พิมพ์โดย :บริษัท โปรวิชั่น จำกัด 408/75 ชั้น 17 อาคารพหลโยธินเพลส ถ.พหลโยธิน สามาเสนใน พญาไท กรุงเทพ 10400
http://kroo.ipst.ac.th/wkv/Bus.html
http://ecurriculum.mv.ac.th/techno/library/computer/knowledge/Promicrocomputer/Lesson/Lesson2/ch2_1.html

วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

เมนบอร์ด Mian board






เมนบอร์ด Main board
เมนบอร์ด คือ แผงวงจรหลักที่ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทำหน้าที่เป็นกลางทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำงานร่วมกันได้ และเป็นศูนย์กลางในการต่อเชื่อมอุปกรณ์อื่นไม่ว่าจะเป็น CPU , RAM , HDD, CD-ROM , FDD VGA CARD เป็นต้น เมนบอร์ดแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อจะสนับสนุนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ไม่เหมือนกัน สิ่งที่มีผลต่อการทำงานของเครื่องพีซีนอกจากซีพียูแล้ว ยังรวมถึงโครงสร้างหลักอื่นๆอีก เช่น เมนบอร์ด ที่ประกอบด้วยอุปกรณ์และระบบบัสต่าง ๆที่สำคัญอยู่มากมาย โดยมีความแตกต่างของรูปแบบหรือที่เรียกว่า “ ฟอร์มแฟคเตอร์”

ฟอร์มแฟคเตอร์ ( From Factor )
ฟอร์มแฟคเตอร์ คือ มาตรฐานในการออกแบบโครงสร้างต่าง ๆ บนเมนบอร์ด โดยจะแตกต่างๆทั้งในเรื่องขนาดของตัวเมนบอร์ด,ตำแหน่งในการจัดวางชิ้นส่วนอุปกรณ์และขั้วต่อ (พอร์ต) ต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีผลต่อการออกแบบเคสหรือตัวเครื่องที่ใช้ด้วย ซึ่งมีใช้ในเครื่องพีซีรุ่นแรกๆของ IBM ต่อมาก็ได้ถูกพัฒนาให้มีขนาดเล็กลง โดยพอร์ตต่างๆ จะถูกขันน็อตยึดติดไว้กับเครื่องและถูกเชื่อมต่อโดยการใช้สายแพเสียบลงบนขั้วต่อของพอร์ตบนเมนบอร์ด
เมนบอร์ดแบบ ATX
เริ่มแรกเมนบอร์ดแบบนี้จะมีสล็อตแบบ PCI 5-6,AGP 1 สล็อตและช่องสำหรับเสียบหน่วยความจำ RAM จำนวน 4-6 สล็อต แต่ในปัจจุบันเมื่อระบบบัสเปลี่ยนจาก PCI ไปเป็น PCI-Expressx1 ก็จะลดจำนวนสล็อตแบบ PCI เดิมลงเหลือเพียง 2-3 สล็อต และเพิ่มสล็อตแบบ PCI-Expressx1 เข้ามาแทน 1-2 สล็อต ส่วนสล็อตแบบ AGP ก็ถูกเปลี่ยนไปเป็นสล็อตแบบ PCI-Expressx16 โดยอาจจะมีมากกว่า 1 สล็อตก็ได้ เพื่อรองรับการประมวลผลกราฟิก
เมนบอร์ดแบบ Micro ATX
เป็นเมนบอร์ดสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการความประหยัดและกะทัดรัด อุปกรณ์ที่ใช้ส่วนใหญ่ เช่น การ์ดจอ, การ์ดเสียงและการ์ดแลน มักถูกติดตั้งมาให้แล้วบนเมนบอร์ดอยู่ในรูปแบบของชิปออนบอร์ด ( Chip on-board) แต่ในปัจจุบันเมนบอร์ดโดยทั่วไปมักจะสนับสนุนระบบบัสแบบ PCI-Expressx ที่ลดจำนวนสล็อตแบบ PCI เดิมลง และเพิ่มสล็อตแบบ PCI-Expressx1 เข้ามาแทน
เมนบอร์ดแบบ Flex ATX,ITX และเครื่องคอมพิวเตอร์แบบ Barebone
เมนบอร์ดสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก กะทัดรัด ซึ่งจะช่วยประหยัดเนื้อที่บนโต๊ะทำงานได้มาก โดยลดจำนวนสล็อต PCI ลงจนเหลือเพียงแค่ 1-2 สล็อตเท่านั้น และอุปกรณ์แทบทุกอย่าง จะเป็นแบบชิปออนบอร์ดเป็นตัวเครื่องที่มีขนาดเล็กเป็นพิเศษ ละไม่สามารถติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมอะไรได้มากนัก ซึ่งในบางครั้งอาจเรียกเครื่องคอมพิวเตอร์แบบนี้ว่า Mini-PC ก็ได้

ส่วนประกอบต่างๆ ที่สำคัญของเมนบอร์ด

ช่องสำหรับติดตั้งซีพียู ( CPU Socket )
เป็นชิ้นส่วนที่ถูกยึดติดอยู่กับเมนบอร์ดมาจากโรงงาน ใช้เป็นฐานรองรับตัวซีพียู เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้าบนเมนบอร์ด ซึ่งมาตรฐานของช็อตเก็ตที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ ถ้าเป็นซีพียู Intel ก็คือแบบ LGA ที่มีลักษณะเป็นขาจำนวนมากยื่นขึ้นมาจากตัวช็อตเก็ตเพื่อรองรับกับตัวซีพียู ถ้าเป็นซีพียูของ AMD ที่ใช้บรรจุภุณฑ์แบบ PGA ที่มีลักษณะเป็นรูจำนวนมากอยู่บนตัวช็อตเก็ต เพื่อรองรับขาที่ยื่นออกมาจากตัวซีพียู

ช่องสำหรับติดตั้งแผงหน่วยความจำ ( Memory Slot )
ลักษณะของแผงหน่วยความจำแรม แต่ละชนิดจะมีขนาดความยาว จำนวนขา และตำแหน่งของร่องบากที่แตกต่างกันออกไป โดยหน่วยความจำที่ใช้กันอยู่ในตอนนี้จะเป็น DDR2 และ DDR3 ที่มีจำนวนขา 240 pin ด้วยกันทั้งคู่แต่มีตำแหน่งของร่องบากไม่ตรงกันทำให้ไม่สามรถใช้แทนกันได้

ชิปเช็ต ( Chipset )

เป็นองค์ประกอบหลักที่มีความสำคัญเพราะถือเป็นหัวใจหลักของระบบที่ใช้ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ บนเมนบอร์ด และเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติเกือบทั้งหมดของเมนบอร์ดนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นรุ่นของซีพียูหรือชนิดช็อตเก็ตที่ใช้ ชนิดของหน่วยความจำที่รองรับ ระบบหรือความเร็วของบัสที่สนับสนุน สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประเภทใดได้บ้าง และขยายความสามารถได้มากน้อยเพียงใด เป็นต้น ด้วยเหตุนี้มันจึงเป็นส่วนสำคัญที่จะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของทั้งระบบเป็นอย่างมาก

ระบบบัส และช่องสำหรับติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ ( Bus & Slot )
บัส (Bus) เป็นเส้นทางเชื่อมต่อที่ใช้รับส่งข้อมูลกันระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งบัสในแต่ละส่วนจะมีความเร็วต่างกัน ตั้งแต่ ซีพียู, หน่วยความจำ, แคช, ฮาร์ดดิสก์, สล็อตต่างๆ และจอภาพ เป็นต้น ดังนั้นความเร็วและประสิทธิภาพในการทำงานของบัส จึงมีผลอย่างมากกับประสิทธิภาพโดยรวมของคอมพิวเตอร์
ระบบบัสและสล็อตของอุปกรณ์จำพวกการ์ดต่าง ๆ มีดังนี้
- PCI ( Peripheral Component Interconnect ) และ PCI-X (PCI Extended)
บัส PCI เป็นระบบที่มีความเร็วค่อนข้างสูง ใช้เชื่อมต่อระหว่างชิปเซ็ตกับอุปกรณ์อื่น ๆที่มีความเร็วรองลงมา เช่น การ์ดหรือชิปเสียง,การ์ดโมเด็ม,การ์ดแลนหรือชิปเน็ตเวิร์ก,การ์ดคอนโทรลเลอร์และอุปกรณ์ต่าง ๆ จำพวกฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น
- AGP ( Accelerated Graphic Port )
บัส AGP เป็นพัฒนาการที่ต่อมาจากบัส PCI โดยมีความกว้างของบัสเท่าเดิมคือ 32 บิต(4 ไบต์) แต่ทำงานด้วยความถี่ที่สูงขึ้นคือ 66.6 MHz ทำให้มีอัตราความเร็วในการรับสั่งข้อมูลเท่ากับ 4 ไบต์ ( 32 บิต) x 66.6 MHz = 266 MB/sec ซึ่งคือมาตรฐานเริ่มต้นที่ AGP1X นั่นเอง

ไบออส ( BIOS)
BIOS ( Basic Input/Output System ) เป็นชิปหน่วยความจำที่ถูกติดตั้งเอาไว้อย่างถาวรบนเมนบอร์ดมาจากโรงงาน ภายในบรรจุโปรแกรมหรือชุดคำสั่งขนาดเล็กที่ใช้ควบคุมการทำงานขั้นพื้นฐานในตอนเริ่มต้นการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์เอาไว้ เพื่อตรวจสภาพความพร้อมของอุปกรณ์ต่าง ๆและกระบวนการบู๊ตระบบเป็นต้น ชิปหน่วยความจำที่บรรจุโปรแกรม BIOS มักเป็นชนิด แฟลชรอม ซึ่งสามารถลบหรือการแก้ไขข้อมูลภายในได้ด้วยการใช้โปรแกรมขนาดเล็กที่ทำหน้าที่ลบหรือแก้ไขข้อมูลนี้โดยเฉพาะ

แบตเตอรรี่ไบออส ( BIOS Battery )
เป็นส่วนที่ไม่ค่อยมีใครสนใจ จนกระทั่งเมื่อนาฬิกาของเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มบอกเวลาผิดพลาด ซึ่งเป็นการบอกให้รู้ว่าแบตเตอรี่ไบออสใกล้จะหมดอายุ (ใกล้เสื่อม) แล้ว ปัจจุบันแบตเตอรี่ที่ใช้มักจะเป็นแบบลิเธียม เนื่องจากมีความคงทน และสามารถใช้งานได้นานเป็นปี ๆโดยมีอายุการใช้งานเฉลี่ยประมาณ 3 ปี

ขั้วต่อสายแหล่งจ่ายไฟ ( Power Connector)
เป็นจุกที่ใช้เสียบเข้ากับตัวต่อหลักของสายที่มาจาก Power Supply เพื่อป้อนไฟเลี้ยงให้กับวงจรไฟหลักและส่วนประกอบต่าง ๆที่ถูกติดตั้งอยู่บนเมนบอร์ด

ขั้วต่อปุ่มสวิทซ์และไฟหน้าเครื่อง ( Front Panel Connector )
เป็นขั้วที่ต่อสัญญาณที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับสายไฟสีต่างๆ ที่โยงมาจากปุ่มสวิทซ์และไฟแสดงสถานะที่อยู่บริเวณด้านหน้าของตัวเครื่อง รวมทั้งลำโพงขนาดเล็กที่ถูกติดตั้งอยู่ภายในตัวเครื่องด้วย มีดังนี้
- ปุ่มสวิทซ์ RESET ( RESET SW) ทำหน้าที่เสมือนปิดเครื่องแล้วเปิดใหม่
- ปุ่มสวิทซ์ POWER (POWER SW ) ใช้ในการเปิดเครื่อง
- หลอดไฟ POWER (POWER LED ) เป็นหลอดไฟสีเขียวที่อยู่หน้าเครื่องใช้แสดงสถานะว่าเครื่องกำลังทำงานอยู่
- หลอดไฟ HARDDISK (H.D.D. LED) เป็นหลอดไฟสีแดงใช้แสดงสถานะของฮาร์ดดิสก์และซีดี/ดีวีดีไดรว์ในขณะที่ทำงานอยู่
- ลำโพง (SPEAKER) เป็นลำโพงขนาดเล็กใช้เพื่อแสดงสถานะเริ่มต้นการทำงานของเครื่อง

จัมเปอร์สำหรับกำหนดการทำงานของเมนบอร์ด
ในอดีตการกำหนดค่าความเร็วของบัสและกำหนดค่าตัวคูณของซีพียูจะกระทำผ่านทางจัมเปอร์บนเมนบอร์ด แต่ในปัจจุบันการกำหนดค่าเหล่านี้มักจะกระทำผ่านทางไบออสเป็นหลัก ส่วนใหญ่ไม่สามารถปรับตัวคูณของซีพียูได้และเนื่องจากผู้ผลิตมักจะล็อตค่าตัวคูณเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใช้เข้าปรับแต่งจนอาจทำให้ซีพียูทำงานผิดพลาด ดังนั้นในปัจจุบันจัมเปอร์ต่างๆ ดังที่กล่าวมาแทบจะไม่มีอยู่บนเมนบอร์ดแล้ว

พอร์ตควบคุมอุปกรณ์ IDE (IDE Controller Port )
เป็นขั้วบนเมนบอร์ดที่มีจำนวนสัญญาณทั้งสิ้น 40 ขา ใช้เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่มีอินเตอร์เฟสแบบ IDE หรือ EIDE หรืออาจเรียกว่า AIA ก็ได้ โดย 1ขั้ว ต่ออุปกรณ์ดังกล่าวได้ 2 ตัว การต่ออุปกรณ์จะใช้สายแพ ( Ribbon Cable ) แบบ 40 หรือ 80 เส้นเชื่อมระหว่างคอนโทรลหรือขั้วต่อ IDE บนเมนบอร์ดกับตัวอุปกรณ์จำพวกฮาร์ดดิสก์ ซีดี/ดีวีดีไดรว์

พอร์ตควบคุมอุปกรณ์ Serial ATA (SATA)
เป็นขั้วต่อหรือพอร์ตบนเมนบอร์ดที่มีจำนวนขาสัญญาณทั้งสิ้น 7 ขา ใช้เชื่อมต่อเข้าอุปกรณ์ฮาร์ดดิสก์ ซึ่งเป็นมาตรฐานใหม่ที่ปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมเพราะติดตั้งได้ง่ายและมีอัตราความเร็วสูง มีการรับส่งข้อมูลในแบบขนาน (Parallel) มาตรฐานปัจจุบันสำหรับ SATA-II (300 MB/s) หรืออาจสูงถึง 6 Gbps หรือ 600 MB/s ได้ในอนาคต

พอร์ตควบคุมอุปกรณ์ Floppy Disk Drive (FDD/FDC Controller Port )
เป็นขั้วต่อบนเมนบอร์ดที่มีจำนวนขาสัญญาณทั้งสิ้น 34 ขา ใช้เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์ได้มากสุด 2 ตัว โดยอุปกรณ์ทั้งสองจะถูกแยกสถานการณ์ทำงานด้วยการพลิกไขว้สายแพกลุ่มหนึ่งไว้

พอร์ตอนุกรม และพอร์ตขนาน (Serial & Parallel Port )

บนเมนบอร์ดรุ่นเก่าๆมักจะมีพอร์ตอนุกรมมาให้ 1-2 พอร์ต กับพอร์ตขนาน 1 พอร์ต แต่ปัจจุบันบนเมนบอร์ดรุ่นใหม่ มักจะไม่มีพอร์ตอนุกรมมาให้แต่พอร์ตขนานยังคงอยู่บ้าง โดยส่วนใหญ่จะถูกเปลี่ยนใช้พอร์ต USB แทบทั้งสิ้น

พอร์ตคีย์บอร์ด และเมาส์ (PS/2 Port )
เป็นพอร์ตแบบพีเอสทู (PS/2) ตัวเมีย (มีแต่รู ไม่มีขา) ที่อยู่บนเมนบอร์ดมีจำนวนรูเสียบทั้งสิ้น 6 รู โดนพอร์ตที่ใช้เชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์คีย์บอร์ดจะเป็นสีม่วงและพอร์ตที่เชื่อมต่อเมาส์จะมีสีเขียว แต่ปัจจุบันอุปกรณ์ทั้งสองจะมีให้เลือกทั้งแบบที่ใช้พอร์ต PS/2 และ USB

พอร์ตยูเอสบี (USB Port )
เป็นพอร์ตที่ใช้เชื่อมเข้ากับอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆที่มีหัวต่อแบบUSB ซึ่งโดยทั่วไปพอร์ตนี้มักจะถูกติดตั้งมาให้ไม่น้อยกว่า 2 พอร์ต ปัจจุบันบนเมนบอร์ดทั่วไปใช้มาตรฐาน USB 2.0 นี่กันหมดแล้วแต่ในอนาคตมาตรฐาน USB 3.0 สำหรับหัวต่อยูเอสบีที่ใช้โดยทั่วไปจะมี 2 แบบคือ
- หัวต่อและช่องเชื่อมต่อพอร์ต USB ชนิด A ใช้ต่อเข้ากับช่องเชื่อมต่อพอร์ต USB ชนิด A ที่อยู่ด้านหน้าและหลังคอมพิวเตอร์
- หัวต่อและช่องเชื่อมต่อพอร์ต USB ชนิด B ใช้ต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงประเภทพรินเตอร์และสแกนเนอร์ เป็นต้น

พอร์ตไฟร์ไวร์ (Firewe หรือ IEEE 1394)
เป็นพอร์ตอีกชนิดหนึ่งที่ปัจจุบันพบเห็นได้ทั่วไป ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงแบบต่าง ๆที่มีพอร์ตแบบ Firewire ซึ่งต้องการอัตราความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลสูง ๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ที่ใช้อินเตอร์เฟสแบบ Firewire และกล้องดิจิตอล เป็นต้น โดยทั่วไปพอร์ตแบบนี้มักจะถูกติดตั้งมาให้อย่างน้อย 1 พอร์ตอยู่แล้วบนเมนบอร์ดรุ่นใหม่ ๆ

คุณสมบัติล่าสุดของเมนบอร์ด
ด้วยขีดความสามารถที่สูงขึ้นของชิปเซ็ตรุ่นใหม่ๆ ทำให้เมนบอร์ดในปัจจุบันมีคุณสมบัติพื้นฐานที่เพียบพร้อมในการทำงานด้วยประสิทธิภาพสูง ทำให้ผู้ผลิตเมนบอร์ดยังต้องไปแข่งขันกันที่รายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆทั้งทางด้านฮาร์ดแวร์และซอต์ฟแวร์ดังต่อไปนี้


External SATA และ SATA RAID ชุดที่สอง
โดยการสร้างชิปเล็กๆอีก1ตัว ทำให้เมนบอร์ดมีช่อง SATA เพิ่มขึ้นได้ รวมทั้งการเชื่อมต่อแบบภายนอกที่เรียกว่า eSATA
วงจรจ่ายไฟที่เสถียร
ด้วยเหตุที่ซีพียู,แรม และการ์ดจอมีความเร็วสูงขึ้น ทำให้การใช้พลังไฟฟ้ามากขึ้น แหล่งจ่ายไฟที่ดีจึงมีความสำคัญมากขึ้น ซึ่งก็ทำได้โดยเพิ่มชุดรักษาระดับความดันไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น เช่น 4 หรือ 8 เฟส
ตัวเก็บประจุ
ตัวเก็บประจุก็ความสำคัญ โดยมากเมนบอร์ดที่เสียหรือรวนเกิดจากตัวเก็บประจุเสื่อม ทำให้รักษาระดับแรงดันได้ไม่ดีปัจจุบันจึงได้มีการนำตัวเก็บประจุดีๆมาใช้ซึ่งสังเกตได้จากตัวประจุเป็นโลหะนั่นเอง
การใช้ Heat Pipe
Heat Pipe หมายถึงท่อนำความร้อน ซึ่งเป็นการใช้ท่อโลหะทองแดงนำความร้อนของชิปเซ็ตให้กระจายไปทั่วเมนบอร์ดและมีครีมระบายความร้อนอยู่รอบๆ ซีพียู
การแก้ไขปัญหา BIOSที่เสียหาย
ปัญหาระหว่างการอัพเดต BIOS ทำให้เมนบอร์ดไม่สามารถทำงานได้ แต่เมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆจะเพิ่มโปรแกรมที่ช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยอ่านไฟล์จากแผ่นดิสก์ ซีดีรอมหรือกระทั่ง USB Flash Drive เป็นต้น
ซอฟต์แวร์ลดการใช้พลังงาน
การเพิ่มซอต์ฟแวร์ไว้ให้ติดตั้งเข้ามาเพื่อรองรับระดับการใช้พลังงานของซีพียู เพื่อให้ประหยัดไฟฟ้าและลดความร้อน

ที่มา :อนิรุกธิ์ รัชตะวราห์,ภาสกร พาเจริญ หนังสือคู่มือช่างคอม 2009 พิมพ์โดย :บริษัท โปรวิชั่น จำกัด 408/75 ชั้น 17 อาคารพหลโยธินเพลส ถ.พหลโยธิน สามาเสนใน พญาไท กรุงเทพ 10400

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

แรม (RAM)

แรม (RAM)
หน่วยความจำ (Memory) เป็นส่วนประกอบสำคัญในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องคอยทำงานร่วมกับซีพียูอยู่อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา ทำหน้าที่จัดเก็บหรือบันทึกข้อมูล/คำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้ในการประมวลผล ทดเลขในการคำนวณ เป็นที่พักข้อมูลชั่วคราวเพื่อรอส่งให้กับซีพียูนำไปประมวลผลและอื่นๆ โดยเราสามารถจำแนกออกตามลักษณะการใช้งานได้ 2 ประเภทคือ หน่วยความจำหลัก และหน่วยความจำสำรอง

หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
เป็นส่วนประกอบสำคัญที่ต้องทำงานร่วมกับซีพียูอยู่อย่างใกล้ชิดตลอดเวลาบนเมนบอร์ด ซึ่งสามารถแบ่งออกตามสภาพการใช้งานได้ 2 ชนิด ดังนี้
- หน่วยความจำถาวร หรือ ROM (Read-Only Memory) ในยุคแรก ๆ จะเป็นพวกที่บันทึกข้อมูลเอาไว้ตายตัวแก้ไขไม่ได้ และข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ยังคงอยู่แม้ไม่มีกระแสไฟฟ้า แต่ปัจจุบันROM ได้ถูกพัฒนาให้สามารถลบหรือแก้ไขข้อมูลที่อยู่ภายใน รวมทั้งบันทึกข้อมูลเข้าไปใหม่ได้ไม่ยากโดยใช้โปรแกรมขนาดเล็กที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อการนี้โดยเฉพาะ
- หน่วยความจำชั่วคราว หรือ RAM ( Random Access Memory ) จะคอยทำงานร่วมกับซีพียูอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา โดยทำหน้าที่เสมือนเป็นสมุดบันทึกเล่มใหญ่ที่ซีพียูใช้ทำงาน แต่หากปิดเครื่องหรือไฟฟ้าเกิดดับขึ้นมา ข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกเก็บไว้จะถูกลบทิ้งหรือสูญหายไปหมด

หน่วยความจำสำรอง ( Secondary Memory )
คือ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับจัดเก็บหรือสำรองข้อมูลเก็บไว้ได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้กระแสไฟฟ้ามาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา เช่น ฮาร์ดดิสก์ ,แผ่น CD/DVD,USB Flash Drive เป็นต้น

ประเภทของแรม
โดยทั่วไปสามรถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

Static RAM (SRAM) ทำจากวงจรที่ใช้การเก็บข้อมูลด้วยสถานะ “มีไฟ” กีบ “ไม่มีไฟ” ซึ่งจะเก็บข้อมูลไว้ได้ตลอดเวลาตราบใดที่ยังมีกระแสไฟฟ้าเลี้ยงวงจรอยู่ นิยมนำไปใช้ทำเป็นหน่วยความจำแคช (Cache) ภายในตัวซีพียู เพราะมีความเร็วในการทำงานสูงกว่า DRAM มาก แต่ไม่สามารถทำให้มีขนาดความจุสูงๆได้ เนื่องจากมีราคาแพงและกินกระแสไฟฟ้ามากจนทำให้เกิดความร้อนสูง อีกทั้งวงจรก็ยังมีขนาดใหญ่กว่าด้วย

Dynamic RAM (DRAM) ทำจากวงจรที่ใช้การเก็บข้อมูลด้วยสถานะ “มีประจุ” กับ “ไม่มีประจุ” ซึ่งวิธีนี้จะใช้ไฟน้อยกว่า SRAM มาก แต่โดยธรรมชาติแล้วประจุไฟฟ้าจะมีการรั่วไหลออกไปเรื่อยๆ ดังนั้นเพื่อให้ DRAM สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ตลอดเวลาตราบเท่าที่ยังมีกระแสไฟคอยเลี้ยงวงจรอยู่ จึงต้องมีวงจรอีกส่วนหนึ่งที่คอยทำหน้าที่ “เติมประจุ”ไฟฟ้าให้เป็นระยะๆ ซึ่งกระบวนการเติมประจุไฟฟ้านี้เราเรียกว่า รีเฟรช (Refreah) โดยหน่วยความจำประเภท DRAM นี้ นิยมนำเอาไปใช้ทำเป็นหน่วยความจำหลักของระบบในรูปแบบของชิปไอซี (Integreted Circuit) บนแผงโมดูลของ RAM เป็นต้น ซึ่งสามารถออกแบบให้มีขนาดความสูงๆได้ ราคาถูก กินไฟน้อย และไม่ทำให้เกิดความร้อนสูง

ข้อเปรียบเทียบระหว่าง SRAM และ DRAM

SRAM
1.เก็บข้อมูลด้วยสถานะ “มีไฟ” กีบ “ไม่มีไฟ”
2.นิยมนำไปใช้ทำเป็นหน่วยความจำแคช (Cache)
3.มีราคาแพง
4.กินกระแสไฟฟ้ามากจนทำให้เกิดความร้อนสูง


DRAM
1.เก็บข้อมูลด้วยสถานะ “มีประจุ” กับ “ไม่มีประจุ”
2.นิยมนำเอาไปใช้ทำเป็นหน่วยความจำหลักของระบบในรูปแบบของชิปไอซี

บนแผงโมดูลของ RAM
3.มีราคาถูก
4.กินไฟน้อยไม่ทำให้เกิดความร้อนสูง


ชนิดของแรมหรือ DRAM
DRAM ที่นำมาใช้ทำเป็นแผงหน่วยความจำหลักของระบบชนิดต่างๆ ที่ใช้กันอยู่ในตอนนี้ มีเทคโนโลยีพื้นฐานในการทำงานแบบเดียวกันคือ เป็นแบบ Synchronous แต่ได้มีการพัฒนาให้มีความเร็วสูงขึ้นเรื่อย ๆ ดังนี้

SDRAM (Synchronous RAM ) ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์ (Package) แบบ TSOP (Thin Small Outline Package ) ติดตั้งบนแผงโมดูลแบบ DIMM (Dual Inline Memory Module) มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 2 ร่องและมีขาทั้งสิ้น 168 ขา (168 pin) ใช้แรงดันไฟ 3.3 โวล์ ความเร็วบัสมีทั้ง 66 MHz,100 MHz และ 133 MHz แต่ถูกเลิกใช้ไปเมื่อหมดยุคของ Pentium III
DDR SDRAM (Double Data Rata SDRAM) ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ TSOP ติดตั้งบนแผงโมดูลแบบ DIMM มีความยาวของแผงเท่ากันคือ 5.25 นิ้ว บนแผงโมดูลจะมีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 184 ขา (184 pin) ใช้แรงดันไฟ 2.5 โวล์ มีความจุสูงสุด 1 GB ต่อแผง ความเร็วบัส มีให้เลือกใช้ตั้งแต่ 133 MHz (DDR-226) ไปจนถึง 350 MHz (DDR-700) ปัจจุบันหมดความนิยมไปแล้ว
DDR2 SDRAM เป็นหน่วยความจำที่ถูกนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ FBGA (Fine-Pitch Ball Grid Array) ที่มีความต้านทานไฟฟ้าต่ำกว่าแบบ TSOP มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1 ร่อง และมีจำนวนขา 240 ขา (240 pin) ใช้แรงดันไฟเพียง 1.8 โวล์ รองรับความจุได้มากถึง 4 GB ความเร็วบัสตั้งแต่ 200 MHz (DDR2-400) ไปจนถึง 533 MHz (DDR2-1066)
DDR3 SDRAM เป็นหน่วยความจำล่าสุดที่เข้ามาแทน DDR2 มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1 ร่อง มีจำนวนขา 240 ขา (240 pin ) รองรับความจุสูงสุดได้มากถึง 16 GB ความเร็วบัสที่ 800 MHz หรือคิดเป็นความเร็วบัสที่ 1600 MHz ในรุ่น DDR3-800 หรือ PC3-6400 จนถึง 800 MHz หรือ ความเร็วบัสที่ 1600 MHz ในรุ่น DDR3-1600 หรือ PC3-12800


วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ประวัติของ CPU Intel

ประวัติของ CPU Intel
อินเทล (Inter Corporation) เป็นบริษัทผู้ผลิตซีพียูที่เก่าแก่และพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ซีพียู 8086, 8088 และซีพียูในตระกูล 80x86 เรื่อยมา จนถึง Celeron Pentium II และ III ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในสมัยนั้น ก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ยุค Celeron II ,Pentium 4 และ Pentium 4 Extreme Editionที่ได้รับการตอบรับจากผู้ใช้อย่างกว้างขวางเรื่อยมา
ซีพียูรุ่นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันของบริษัทอินเทล (Inter) มีดังนี้
ซีพียูรุ่นเก่า
ตระกูล 80x86 เป็นซีพียูรุ่นแรก ซึ่งปัจจุบันไม่ใช้กันแล้ว
Pentium เป็นซีพียูที่เปลี่ยนไปใช้วิธีตั้งชื่อเรียกว่า Pentium แทนตัวเลขแบบเดิม
Pentium MMX เป็นซีพียูที่ได้มีการนำเอาคำสั่ง MMX (MultiMedia eXtension) มาใช้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางด้านมัลติมีเดีย
Pentium Pro เป็นซีพียูรุ่นแรกของตระกูล P6 ซีพียูรุ่นนี้ใช้กับชิปเซ็ตรุ่น 440 FX และได้รับความนิยมในเครื่องเซิร์ฟเวอร์เป็นอย่างมากใสมัยนั้น
Pentium II เป็นการนำซีพียู Pentium Pro มาปรับปรุงโดยเพิ่มชุดคำสั่ง MMX เข้าไป และเปลี่ยนไปใช้บรรจุภัณฑ์แบบตลับ ซึ่งใช้เสียบลงใน Slot 1 โดยมร L2 Cache ขนาด 512 ME ที่มีความเร็วเพียงครึ่งเดียวของความเร็วซีพียู
Celeron เป็นการนำเอา Pentium II มาลดองค์ประกอบ โดยยุคแรกได้ตัด L2 Cache ออกมาเพื่อให้มีราคาถูกลง
Pentium III เป็นซีพียูที่ใช้ชื่อรหัสว่า Katmai ซึ่งถูกเพิ่มเติมชุดคำสั่ง SSE เข้าไป
Celeron II รุ่นแรกเป็นการนำเอา Pentium III ( Coppermine และ Tualatin) มาลด L2 Cache ลงเหลือเพียง 128 KB และ 256 KB ตามลำดับ
ซีพียู Celeron D และ Celeron Dual-Core
Celeron รุ่นล่าสุดใช้ชื่อว่า Celeron D ที่ยังคงเป็นซีพียูราคาประหยัดสำหรับผู้ที่ต้องการคอมพิวเตอร์ใหม่ราคาไม่แพง เพื่อนำไปใช้งานทั่วๆไปโดยรุ่นต่างๆที่ออกมาดังนี้
Celeron D (presscott-90 nm) มีความเร็วสูงสุดในปัจจุบันอยู่ที่ 3.33 GHz ในรุ่น 355 ทำงานด้วย FSB 533 MHz ค่า TOD สูงสุด 84 W
Celeron D (Cedar Mill-65 nm) มีความเร็วสุงสุดปัจจุบันอยุ่ที่ 3.6GHz ทำงานด้วย FSB 533 MHz ค่า TOD สูงสุด 65 W

Celeron D (Conroe-L/65 nm) มีความเร็วสูงสุดปัจจุบันอยู่ที่ 2.2 GHz ในรุ่น 450 มี L2 Cache ขนาด 512 KB ทำงานด้วย FSB 800 MHz ค่า TDP สูงสุด 35 W
Celeron Dual-Core (Allendale-65 nm ) มีความเร็วสูงสุดปัจจุบันอยู่ที่ 2.0 GHz ในรุ่น E1400 มี L2 Cache ขนาด 512 KB ทำงานด้วย FSB 800 MHz ค่า TDP สูงสุด 65 W
Celeron Dual-Core (Merom 2M-65 nm) สำหรับ Note book มีความเร็วสูงสุดปัจจุบันอยู่ที่ 1086GHz ในรุ่น T1500 มี L2 Cache ขนาด 512 KB ทำงานด้วย FSB 533 MHz ค่า TDP สูงสุด 35 W

ซีพียู Pentium 4
ซีพียูมนตระกูล Pentium 4 ได้ถูกเพิ่มเติมเทคโนโลยี Hyper-Threading (HT) เข้าไปเพื่อช่วยให้สามารถประมวลผลเธรดหรือชุดคำสั่งย่อยต่างๆไปพร้อมๆกันได้เสมือนมีซีพียู 2 ตัวช่วยกันทำงาน ซึ่งทำให้เพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานหลายๆอย่างพร้อมกันได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
- Pentium 4 HT (Nothwood-130 nm )
- Pentium 4 HT (Prescott-90 nm )
- Pentium 4 HT (Cedar Mill-65 nm)
ซีพียู Pentium 4 Extreme Edition
Pentium 4 Extreme Edition (Gallatin-130 nm) มีความเร็ว 3.4 GHz มี L2 Cache ขนาด 512 KBค่า TDP สูงสุด 110 W
Pentium 4 Extreme Edition (Prescott 2 M-90 nm ) มีความเร็ว 3.73 GHz ทำงานด้วย FSB 1066 MHz ค่า TDP สูงสุด 115 W
ซีพียู Pentium D
นับเป็นก้าวแรกสู่ยุค Dual& Muti-Core ของ Intel โดย Pentium D ถูกออกมา เพื่อการทำงานที่ต้องการ Multitasking สูงๆ หรือสามารถทำงานกับแอพพลิเคชั่นได้หลายตัวพร้อมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
- Pentium D ( Smithfield-90nm)
- Pentium D (Presler-65 nm)
ซีพียู Pentium Dual-Core
Pentium Dual-Core (Allendale-65 nm) มีความเร็วสูงสุดปัจจุบันอยู่ที่ 2.4 GHz ในรุ่น E2220 ทำงานด้วย FSB 800 MHz มี L2 Cache ขนาด 1 MB ค่า TDP สูงสุด 65 W
Pentium Dual-Core (Wolfdale 2M-45 nm) มีความเร็วสูงสุดปัจจุบันอยู่ที่ 2.5 GHz ในรุ่น E2220 ทำงานด้วย FSB 800 MHz มี L2 Cache ขนาด 2 MB ค่า TDP สูงสุด 65 W
Pentium Dual-Core (Yonah-65 nm) สำหรับ Note book มีความเร็วสูงสุด 1.86 GHz ในรุ่น T2130 ทำงานด้วย FSB 533 MHz มี L2 Cache ขนาด 1 MB ค่า TDP สูงสุด 31 W
Pentium Dual-Core (Morom 2M-65 nm) สำหรับ Note book มีความเร็วสูงสุด 2.0 GHz ในรุ่น T24100 ทำงานด้วย FSB 533 MHz มี L2 Cache ขนาด 1 MB ค่า TDP สูงสุด 35 W
ซีพียู Pentium Extreme Edition
เป็น Dual-Core ภายใต้แบรนด์ Pentium ในตระกูล Extreme Edition ที่ถูกออกแบบมาสำหรับคอมพิวเตอร์ระดับ Hi- End สมรรถนะสูง เหมาะกับการสร้างสรรค์สื่อบันเทิงต่างๆอย่างเต็มรูปแบบ ทั้งการประมวลผลภาพวิดีโอ และระบบเสียงแบบ High Definition ทั้งงานด้านการออกแบบและเกมส์ต่าง ๆ ได้แก่
- Pentium Extreme Edition (Smithfield-90 nm )
- Pentium Extreme Edition (Presler-65 nm )
ซีพียู Core 2 Duo
Core 2 Duo (Allendale-65 nm) มีความเร็วสูงสุด 2.6 GHz ในรุ่น E4700 ทำงานด้วย FSB 800 MHz มี L2 Cache ขนาด 2 MB ค่า TDP สูงสุด 65 W
Core 2 Duo (Conroe-65 nm) มีความเร็วสูงสุด 3.0 GHz ในรุ่น E6850 ทำงานด้วย FSB 1066 และ 1333 MHz มี L2 Cache ขนาด 4 MB ค่า TDP สูงสุด 65 W
Core 2 Duo (Wolfdale 3M-45 nm) มีความเร็วสูงสุด 2.8 GHz ในรุ่น E7400 ทำงานด้วย FSB 1066 MHz มี L2 Cache ขนาด 3 MB ค่า TDP สูงสุด 65 W
Core 2 Duo (Wolfdale -45 nm) มีความเร็วสูงสุด 3.3 GHz ในรุ่น E8600 ทำงานด้วย FSB 1333 MHz มี L2 Cache ขนาด 6 MB ค่า TDP สูงสุด 65 W
ซีพียู Core 2 Extreme (Dual-Core)
Core 2 Extreme (Conroe XE-65 nm ) มีความเร็วสูงสุด 2.93GHz ในรุ่น X6800 ทำงานด้วย FSB 1066 MHz มี L2 Cache ขนาด 4 MB ค่า TDP สูงสุด 75 W
ซีพียู Core 2 Quad
Core 2 Quad (Kentsfield-65 nm ) มีความเร็วสูงสุด 2.66 GHz ในรุ่น Q6700 ทำงานด้วย FSB 1066 MHz มี L2 Cache ขนาด 8 MB ค่า TDP สูงสุด 95 W
Core 2 Quad (Yorkfield 4M-45 nm ) มีความเร็วสูงสุด 2.33 GHz ในรุ่น LGA775 ทำงานด้วย FSB 1033 MHz มี L2 Cache ขนาด 4 MB ค่า TDP สูงสุด 95 W
Core 2 Quad (Yorkfield 6 M-45 nm ) มีความเร็วสูงสุด 2.5 GHz ในรุ่น Q9400 ทำงานด้วย FSB 1033 MHz มี L2 Cache ขนาด 6 MB ค่า TDP สูงสุด 95 W
Core 2 Quad (Yorkfield -45 nm ) มีความเร็วสูงสุด 3.0 GHz ในรุ่น Q9650 ทำงานด้วย FSB 1033 MHz มี L2 Cache ขนาด 12 MB ค่า TDP สูงสุด 95 W
ซีพียู Core 2 Extreme (Quad-Core)
Core 2 Extreme (Conroe XE-65 nm) มีความเร็วสูงสุด 3.0 GHz ในรุ่น QX6850 ทำงานด้วย FSB 1066 MHz มี L2 Cache ขนาด 8 MB ค่า TDP สูงสุด 130 W
Core 2 Extreme (Yorkfield XE-45 nm) มีความเร็วสูงสุด 3.2 GHz ในรุ่น QX9775ทำงานด้วย FSB 1600MHz มี L2 Cache ขนาด 12 MB ค่า TDP สูงสุด 150 W
ซีพียู Core i7
เป็นซีพียูภายใต้แบรนด์ใหม่ในชื่อ Core i7 ที่ใช้รหัสการผลิตว่า Nehalem หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมแบบใหม่ด้วยโครงสร้างทั้งภายในและภายนอกที่ได้รับการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปมาก เช่น การย้ายเอาส่วนควบคุมหน่วยความจำ เป็นต้น
ซีพียู Core i7 Extreme
Core i7 Extreme (Bloomfield-45 nm) มีความเร็วสูงสุด 3.2 GHz ในรุ่น LGA1366ทำงานด้วย FSB 800/1066/1333/1600MHz มี L2 Cache ขนาด 8 MB ค่า TDP สูงสุด 130 W

วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สวัสดี

สวัสดีทุกคนสบายดีใหม่